เรื่องเล่าสู่ความสำเร็จ: การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การอนุรักษ์พันธุ์ส้มโอนครชัยศรี (Story of Success: Local Wisdom Management for Conservation of Nakhon Chai Si’s Pomelo)

Main Article Content

กุลลดา เลิศไสว (Kunlada Lertsawai)
นรินทร์ สังข์รักษา (Narin Sungrugsa)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาการปลูกส้มโอพันธุ์นครชัยศรีของชุมชนในอำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน 2) ศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเกษตรกรสวนส้มโอนครชัยศรีจากรุ่นสู่รุ่น และ 3) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกส้มโอนครชัยศรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มชาวสวนส้มโอนครชัยศรีในเขตอำเภอนครชัยศรีและอำเภอสามพราน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน รวมจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล วิเคราะห์แบบอุปนัย และเรื่องเล่า สรุปผลโดยการพรรณนา และพรรณนาวิเคราะห์


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาการปลูกส้มโอพันธุ์นครชัยศรีของชุมชนในอำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน มาจากการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่และจากการศึกษาด้วยตนเองโดยการลองผิดลองถูก ซึ่งภูมิปัญญาการปลูกและการดูแลส้มโอมีตั้งแต่ การยกร่อง แนวการลงต้นส้มโอ การลงต้นส้มโอ การให้น้ำ การให้ธาตุอาหาร และการพัฒนาด้านการดูแลรักษา โดยส้มโอนครชัยศรีมีคุณค่าและความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจ ความเชื่อ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชน จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งพันธุ์ที่ได้การขึ้นทะเบียน ได้แก่ พันธุ์ทองดี และพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง 2) การถ่ายทอดภูมิปัญญาการปลูกส้มโอของเกษตรกรสวนส้มโอนครชัยศรีจากรุ่นสู่รุ่น ประกอบด้วยความเชื่อมโยงด้านการเรียนรู้ของชาวสวน แรงจูงใจในการเรียนรู้ วิถีการสืบทอดภูมิปัญญาการปลูกส้มโอของชาวสวน การสร้างแรงจูงใจในการสืบทอดภูมิปัญญาการปลูกส้มโอแก่รุ่นต่อไป ซึ่งแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญา และแนวทางการจัดการความรู้ที่ดีเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้การสืบทอดภูมิปัญญาประสบความสำเร็จได้ 3) แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการปลูกส้มโอนครชัยศรี เป็นผลเชื่อมโยงจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการทำสวนส้มโอนครชัยศรี ทำให้เกิดการสนับสนุนและการให้ความสำคัญของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่ออนาคตการทำสวนส้มโอและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาวสวน


 


                The objectives of this research are 1) to study the wisdom of planting Nakhon Chai Si's pomelo in community of Nakhon Chai Si and Sam Phran districts. 2) to study the convey the wisdom for planting Nakhon Chai Si's pomelo of farmers from generation to generation and 3) to study the conservation of agricultural wisdom of Nakhon Chai Si's pomelo. This study used qualitative research methods. Conducting 13 key informants by in-depth interview method which consisted of the pomelo farmers in Nakhon Chai Si and Sam Phran districts and related with both public and private agencies. The accuracy was verified by data triangulation. This research analysed by analytical induction and narrative approach which describe the result by description and analytical description.


               The research founded that 1) The wisdom of planting Nakhon Chai Si’s pomelo in the community of Nakhon Chai Si and Sam Phran Districts came from the parents and from self-study by trial and error. The wisdom for planting are starting from the groove, seedling, watering, nutrition and maintenance. Pomelo’s Nakhon Chaisi is valued and important as an economic crop, belief, culture and way of life which Nakhon Chai Si's Pomelo in the breed of Thong Dee and Khow Nam Pheung also have been registered as a geographical indication. 2) Convey of wisdom for planting Nakhon Chai Si’s pomelo of farmers from generation to generation consists of the link to the learning of gardeners, the motivation of learning, the way of succession of wisdom of the gardeners and the motivation to inherit wisdom to the next generation. This knowledge transfer guidelines and good knowledge management is an important step in the success of succession wisdom. 3) The conservation of local wisdom for conservation of Nakhon Chai Si's pomelo has been linked from the events that occurred and affect farming of Nakhon Chai Si's pomelo which that the cause of encouraging government departments and agencies concerned to have more prioritizes in planning and operating of the future and conservation wisdom of farmers.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ