การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล (Research and Development of School Administration Model by Community Empowerment for Career in Outstanding Sub District Schools.)

Main Article Content

ขำ แสงจันทร์ (Kham Saengchan)
สวนีย์ เสริมสุข (Savanee Sermsuk)
สุกัญญา แช่มช้อย (Sukanya Chaemchoy)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่ควรจะเป็นและแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่ควรจะเป็นและแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่ควรจะเป็นฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 255 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติดี จำนวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปการให้เหตุผลแบบอุปนัย ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล สภาพที่เป็นจริง ในภาพรวมและรายด้านมีการดำเนินการอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่ควรจะเป็นที่ต้องการให้เกิดขึ้นในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ลำดับที่ 1 คือ การจัดองค์กร ลำดับที่ 2 คือ การวางแผน และลำดับสุดท้าย คือ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ วิธีปฏิบัติที่ดี ในการบริหารเพื่อสร้างอาชีพ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายด้านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ การวางแผนกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรม การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ การกำหนดหลักสูตรวิชาอาชีพสอดคล้องกับศักยภาพชุมชน


               รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่, การวางแผน, การจัดองค์กร, การนำ, การควบคุม องค์ประกอบที่ 2 การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน การหาสาเหตุหรือเงื่อนไขที่นำไปสู่ภาวะไร้อำนาจ, การเลือกเทคนิคและกลยุทธ์ในการจัดการ, การช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดการรับรู้ความสามารถของตนเอง, ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจนำไปสู่ผลกระทบพฤติกรรมที่เกิดขึ้น องค์ประกอบที่3 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพมีขั้นตอน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1.การเรียนรู้ (OLE) ประกอบด้วยวัตถุประสงค์การศึกษา (O = Educational Objectives) ,การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (L = Learning experiences) , การวัดผลการประเมินผล (E = Evaluation) ส่วนที่ 2 การฝึกปฏิบัติทดลองประกอบอาชีพ ( WBL = Work-Based Learning ) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล พบว่า โครงสร้างขององค์ประกอบมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านความเหมาะสมอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด


 


                   The objectives of the research were: 1) to study the current condition, desired condition, and proper regulation for the administration of educational institutions to create a career in project sub-district best schools, and 2) to develop school administrative model by empowerment of the community to create a career in project sub-district best schools. The researcher determined the research methodology into two phases : Phase 1, the samples consisted of 255 school administrators who were selected by the multi-stage random sampling with three best practical administrators. And phase 2, the samples consisted of 10 experts. The Questionnaire, interviewing, Document analysis, and data recording were used for the data collection. In addition, for the data analysis, researchers analyzed the quantitative data analysis by the descriptive statistics, including frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, Needs assessment was necessary.


               The research found that the school administrative model by empowerment of the community to create a career in project sub-district best schools essentially consisted of three components: 1) School administration for occupational development, consisting of analysis of space and its potentiality, planning, organization, leading, and control, 2) Community empowerment consisted of 5 steps including diagnosis or inductive condition to the powerlessness, techniques and strategies selection, supports for the practitioners to the realization of their efficacy, and results of inductive empowerment to the influence of occurred behaviors, 3) Educational Management for the Career Development dividing into two stages including 1) Learning (OLE) consisted of educational objectives (O = Educational Objectives), Experience L = Learning experiences, and E = Evaluation, and 2) Work-Based Learning (WBL). Evaluation of the school administrative model by empowerment of the community to create a career in project sub-district best schools indicated that the structure of the components was appropriate at the highest level. Considering of sub-components of utility appropriateness, the possibility and accuracy aspects were at most levels.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ