เทวนิยมอินเดีย : เส้นทางและปรากฏการณ์ในสังคมไทย (Indian Theism: Development and Its Phenomenon in Thai Society)

Main Article Content

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (Komkrit Uitekkeng)

Abstract

                    บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการของเทวนิยมอินเดียที่สัมพันธ์กับพัฒนาการของความคิดความเชื่อและปรากฏการณ์ในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า ในอินเดียมีพัฒนาการของความเชื่อเรื่องเทพเจ้าจากยุคก่อนประวัติศาสตร์สืบทอดในกลุ่มชนพื้นเมืองซึ่งมีลักษณะคล้ายศาสนาผีในอุษาคเนย์ แล้วเกิดการผสมผสานกับแนวคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าอื่นๆเมื่อมีการอพยพเข้ามาของชาวอารยัน โดยใช้วิธีการสร้างเทวตำนานเพื่อดูดกลืนเทพพื้นเมืองเหล่านั้น ในเวลาต่อมามีการพัฒนาแนวคิดทางปรัชญาทำให้ผีพื้นเมืองเปลี่ยนสถานะเป็นเทพเจ้าและพระเป็นเจ้าในที่สุดแต่ความเป็นผีพื้นเมืองก็ยังสามารถดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันในรูปของนิกายศากตะและตันตระ เมื่อศาสนาพราหมณ์จากอินเดียเข้ามาในอุษาคเนย์และสยามในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-8 ก็ได้เข้ามาประสานกับศาสนาผีพื้นเมืองโดยง่ายจากความใกล้เคียงกันด้านภูมิหลังทางความเชื่อ  และทำหน้าที่รับใช้กษัตริย์เพื่อส่งเสริมพระราชอำนาจโดยใช้สัญลักษณ์และพิธีกรรมของพราหมณ์ ในด้านความสัมพันธ์กับพุทธศาสนา ได้มีการเคลื่อนย้ายเทพเจ้าพราหมณ์เข้าสู่ระบบจักรวาลวิทยาของพุทธศาสนา คือการลดสถานะของพระเจ้าลงเป็นเทพตามคติพุทธโดยมีสถานะต่ำกว่าพระพุทธเจ้า ส่วนความสัมพันธ์กับศาสนาผีพื้นเมือง เทวนิยมอินเดียถูกครอบงำจากศาสนาผีโดยนำสัญลักษณ์และพิธีกรรมไปในความเชื่อแบบผี ทำให้เทพเจ้ากลายเป็นผีในระบบความเชื่อเดียวกันและทำให้ผีเดิมมีลักษณะที่ยิ่งใหญ่ขึ้น การเข้ามาของศาสนาฮินดูระลอกใหม่ในพุทธศตวรรษที่ 25 - 26 ทำให้เกิดการแบ่งเป็นศาสนพราหมณ์ของพื้นเมืองและศาสนาฮินดูของอินเดีย ซึ่งจะนำแนวคิดใหม่ๆคือแนวคิดเรื่องพุทธาวตารอันจะนำพระพุทธเจ้าเข้ามาสู่จักรวาลวิทยาของฮินดูโดยสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับเทพเจ้า  และเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากความเป็นเทพเจ้าไปสู่ความเป็นพระเจ้าในศาสนา พื้นที่ของศาสนาฮินดูกลายเป็นพื้นที่ใหม่ของศาสนาผีและเพศหญิงในสังคมร่วมสมัยซึ่งลดลงหลังการปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่สี่ โดยเฉพาะวัดพระศรีมหาอุมาเทวีหรือวัดแขกสีลมได้กลายเป็นพื้นที่ที่สำคัญที่สุดของฮินดูและผี โดยศาสนาผียังคงใช้สัญลักษณ์และพิธีกรรมของฮินดูในลักษณะเดิมและมีความซับซ้อนขึ้น


 


                         This article aims to study the development of Indian Theism in Thai society and its effects on Thai society. It shows that the belief in Gods in India emerged in pre-historical period. The native people believed in ghosts, similar to the native of the south-east Asia. Then came along the Aryan to Indian soil, whose myth incorporated those native ghosts. Later on, those ghosts became gods and eventually Gods. However, the native ghosts still exist in Shaktism and Tantra. When Hinduism spread from India to south-east Asia and Siam in the fifth- eighth BE, it mingled with the local beliefs easily since they were similar to the background beliefs in India. In regards of the relationship between Hinduism and Buddhism, Hindu Gods are included and blended into Buddhist theology. Their status are reduced to gods, which are below Lord Buddha. In terms of relationship between the Hindu Gods and Thai native ghosts, the Siamese blended Hindu Gods to their local ghosts, which elevated the status of their local ghosts. The second coming of Hinduism in the 25th and 26th BE had led to the division of the local Brahmanism and Indian Hinduism. The second coming of Hinduism caused a paradigm shift in the status of Hindu Gods, which used to be below Lord Buddha to become even. Hindu gods changed their status and became Gods again. Hinduism in Thailand has become a new space for animists  and women, which their spaces were reduced by the reformation policy of King Rama IV. Sri Maha Mariamman Temple, also known as Maha Uma Devi Temple or Wat Khaek Silom, has become a place for those animists by using Hindu symbols and rituals in a more complex way.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ