ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 (Relationship between Knowledge Management and Learning Innovation Creation of Teachers under Phetchaburi Primary) Relationship between Knowledge Management and Learning Innovation Creation of Teachers under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2

Main Article Content

สุทิน เจริญอินทร์ (Sutin Charoenin)
มณฑา จำปาเหลือง (Monta Jumpaluang)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2)  ศึกษาระดับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ได้มาจากการเปิดตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.972 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการความรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( x = 4.38, S.D. = 0.46) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ และด้านการแบ่งปันความรู้  2) การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (x = 4.30, S.D. = 0.52) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสร้างต้นแบบนวัตกรรม ด้านการทดลองใช้นวัตกรรม ด้านการกำหนดกรอบแนวคิด และด้านการเผยแพร่นวัตกรรม  และ 3) การจัดการความรู้โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันกับการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการแบ่งปันความรู้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ ด้านการสร้างความรู้ และด้านการแสวงหาความรู้


 


               The purpose were to study: 1) level of teachers’ knowledge management in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2, 2) level of teachers’ learning innovation creation in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2, and 3) relationship between knowledge management and learning innovation creation of teachers in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research samples were 278 teachers in the schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2, define the sample using the tables of Krejcie & Morgan. The research tool was an questionnaire with reliability at 0.972. The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.


               The research results were as follows: 1) Knowledge management of the teachers in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2 was practiced on at a high level both in overall and in each aspect ( x= 4.38, S.D. = 0.46). The aspects of knowledge management could be ranked in descending order of their means as follows: knowledge acquisition, knowledge creation, knowledge application, and knowledge sharing, 2) The learning innovation creation of the teachers in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2 was practiced at a high level both in overall and in each aspect (x = 4.30, S.D. = 0.52). The aspects of learning innovation creation could be ranked in descending order of their means as follows: innovation prototype creation, experiment of innovation, formulation of conceptual framework, and innovation dissemination, and 3) There was overall positive relationship with statistical significance at the 0.01 level between knowledge management and learning innovation creation of teachers in schools under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 2. When each aspect of knowledge management are considered, it was found that its four aspects could be ranked in descending order of their correlation coefficients as follows: knowledge sharing, knowledge application, knowledge creation, and knowledge acquisition.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ