การใช้ความจริงเสมือนในพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ (The Use of Virtual Reality in Museum: The case study of National Museum of Finland)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงการใช้ความจริงเสมือนในพิพิธภัณฑ์ : กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ โดยผ่านงานนิทรรศการชื่อ “Story of Finland” ที่สื่อสารกับผู้ชมงานด้วยหลักการออกแบบอินโฟกราฟิก การออกแบบสื่อเชิงโต้ตอบ (Interactive) การออกแบบสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการออกแบบการแสดงงานในพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่มีความมุ่งหวังให้ผู้ชมงาน เกิดความเข้าใจในเนื้อหางานได้อย่างลึกซึ้ง ลุ่มลึก และเข้าใจได้ง่าย เป็นการนำเอาเทคโนโลยีและหลักการออกแบบมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนทำให้เกิดการออกแบบในลักษณะใหม่ ที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาของแต่ละเรื่องราวในเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป สร้างการรับรู้ให้ผู้ชมได้เป็นอย่างดี และหากนำทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว มาเรียบเรียงออกมาจะทำให้พบได้ว่า ทั้งหมดของการออกแบบที่นี่นั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการออกแบบความจริงเสมือนที่มีความมุ่งหวังในการสร้างประสบการณ์ให้กับผู้ชมด้วยการดื่มด่ำลงไปในงาน จากทั้งหมดนี้ ผู้เขียนได้มีความสนใจการใช้ความจริงเสมือนไปใช้ในงานออกแบบอื่นๆ ที่น่าจะสามารถต่อยอดลักษณะการออกแบบเช่นนี้ได้ต่อไปในอนาคตและอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้เพิ่มเติม นอกเหนือไปจากใช้เพื่อให้ความรู้ในงานจัดแสดงงานในพิพิธภัณฑ์เพียงอย่างเดียว
This article is intended to describe the use of virtual reality in the museum: the case study of National Museum of Finland. Throughout of the exhibition entitled "Story of Finland" communicating with the audience with the principle of design of infographics, Interactive media design, virtual environment design all this is a guideline for designing a new museum display. The aim is for the audience to the deep understanding of the content. It brings together technologies and design principles to create a new design. Focusing on the content of each story in different techniques to make a good impression on the audience and all of that said. We are compiled to find out that all of the designs here. It is a form of virtual reality design that aims to inspire audiences to immerse themselves in the work. From all this, the authors are interested in the use of virtual reality in other designs. This can be further enhanced in the future and may be beneficial to others. In addition to the use to educate at exhibitions in museums alone.