การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานอุตสาหกรรม การบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน (Development of Human Capital to Improve Work Performance of Aviation and Logistics Staff in -) Development of Human Capital to Improve Work Performance of Aviation and Logistics Staff in Thailand to wards a Balanced and Sustainable Creative Industry

Main Article Content

นิลาวัลย์ สว่างรัตน์ (Nilawan Sawangrat)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย (3) เพื่อสำรวจอิทธิพลทางตรงอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลโดยรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ในประเทศไทย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง


               ผลการวิจัยพบว่าการมุ่งเน้นการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ตามด้วยประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงาน สำหรับผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างพบว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ ความพึงพอใจในงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นโมเดลที่มีความน่าเชื่อถือมากสามารถอธิบายผลการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีอิทธพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (DE=0.44) ความพึงพอใจในงาน (DE=0.29) และการมุ่งเน้นการเรียนรู้ (DE=0.90) และยังพบว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านความพึงพอใจในงาน (TE=0.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .25 -.73 ซึ่งมีค่าต่ำกว่า .75 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้และไม่มีปัญหาการมีความสัมพันธ์ระหว่างกันที่สูงเกินไป


 


                The objectives of this study are (1) to investigate human resource management, learning orientation, work satisfaction, and work performance of aviation and logistics staff in Thailand, (2) to examine the consistency of a model and empirical data of human resource management, learning orientation, work satisfaction and work performance of aviation and logistics staff in Thailand, (3) to explore indirect and overall effects of human resource management, learning orientation, work satisfaction and work performance of aviation and logistics staff in Thailand, and (4) to study the relationship of human resource management, learning orientation, work satisfaction and work performance of aviation and logistics staff in Thailand. The data were collected from a sample of 500 respondents. The data were analyzed using Structural Equation Modeling (SEM).


               It was found that the average learning orientation was at a high level, followed by human resource management, work performance, and work satisfaction, respectively. For the analysis of the Structural Equation Modeling, it was found that human resource management, learning orientation, work satisfaction and work performance was a very reliable model. That is, it could explain the analysis results and factors directly affecting work performance, which are human resource management (DE = 0.44), work satisfaction (DE = 0.29), and learning orientation (DE = 0.90). In addition, it was found that human resource management had an indirect effect on work performance through work satisfaction (TE = 0.20) at a statistical significance level of 0.05. For the analysis of the relationship between variables, the researcher used Sample Correlations to explore the size and direction of linear relationship among different variables. It was found that the relationship among variables had the sample correlations ranging between .25 - .73, which is lower than .75. Thus, it was within the acceptable range and the correlation was not too high.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ