การพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร (The Development of Knowledge for Product Value Creation-) The Development of Knowledge for Product Value Creation to Enhance Competitiveness for OTOP Entrepreneurs in Phetchaburi, Prachuap Khiri Khan, Samut Songkhram and Samut Sakhon

Main Article Content

สันติธร ภูริภักดี (Santidhorn Pooripakdee)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) และผลิตภัณฑ์ OTOP  1 – 3 ดาว ก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ (2) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) และผลิตภัณฑ์ OTOP  1 – 3 ดาว ให้เพิ่มมูลค่าและสามารถแข่งขันในตลาดได้ (3) เพื่อพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) และผลิตภัณฑ์ OTOP  1 – 3 ดาว ของผู้ประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ให้เพิ่มมูลค่าและสามารถแข่งขันในตลาดได้ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 102 ผู้ประกอบการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบของหลักสูตรในการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำหลักสูตร และสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจิย ได้แก่ แบบประเมินความความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตร แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก การวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน ใช้วิธีการของสถิติวิลคอกซัน


               ผลการศึกษา พบว่าองค์ความรู้ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP  คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ 2) การเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างแบรนด์และเรื่องเล่า 3) การจัดวางสินค้าและการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ 4) การสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยความคิดสร้างสรรค์ 5) การเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถพัฒนาต่อยอดแนวคิดได้ และยังพบว่าหลังเข้าร่วมการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประกอบการมีความรู้มากขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ


 


               The purposes of this research were (1) to compare the knowledge of OTOP product development before and after training (2) to develop the knowledge of OTOP product development to increase value and competitiveness in the market and (3) to develop the packaging of OTOP products in developing target group (Quadrant D) and OTOP products ranked from 1 to 3 stars in Phetchaburi. Prachuap Khirikhan, Samut Songkram and Samut Sakhon as to increase the value and competitiveness in the market of 102 entrepreneurs. This research is a mixed method of qualitative and quantitative research. Qualitative research, we used component analysis of entrepreneurial development by curriculum developers and focused on in-depth interviews with the entrepreneurs. The tools used in this research were the formative assessment of the consistency of the course components and the interview with key informants. Quantitative research used statistical data analysis including mean, standard deviation, hypothesis testing, used the method of Wilcoxon statistics.


               The study found that the knowledge that entrepreneurs can develop the standard of OTOP products are 1) creative product development 2) value added with branding. 3) product placement and online distribution. 4) creative community product creation. 5) value added with packaging. Moreover, the entrepreneurs have increased their knowledge and they could develop their ideas for their product packaging design after attending the workshop. In addition, entrepreneurs can apply the knowledge gained and applied to improve and develop the work all at the high level. Moreover, after participating in workshops, entrepreneurs have more knowledge than before participating in workshop.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ