การแสดงออกของพื้นที่กึ่งสาธารณะหน้าตึกแถว: กรณีศึกษาย่านแพร่งภูธร (Representative of in-between space upfront row houses: case study Phraeng Phuthon)

Main Article Content

พบสุข ทัดทอง (Pobsook Tadtong)
อภิรดี เกษมศุข (Apiradee Kasemsook)
พิมลศิริ ประจงสาร (Pimolsiri Prajongsan)

Abstract

                 บทความนี้มุ่งสร้างเครื่องมืออ่านการครอบครองพื้นที่ เพื่อใช้ทำความเข้าใจการแสดงออกของพื้นที่กึ่งสาธารณะในหน้าตึกแถว ที่มีความซับซ้อนของการใช้งานพื้นที่และการถือสิทธิในการครอบครองพื้นที่ที่ต่างไปจากทฤษฎีพื้นที่กึ่งสาธารณะ และทดลองใช้เครื่องมืออ่านการครอบครองพื้นที่กับพื้นที่นำร่องหน้าตึกแถวย่านแพร่งภูธร ด้วยมีสมมติฐานว่าการครอบครองพื้นที่ที่แตกต่างกัน นำไปสู่การกำหนดความหมายของพื้นที่ได้แตกต่างกัน


               การศึกษาประกอบไปด้วยการประมวลชุดทฤษฎีพื้นที่ส่วนบุคคล-สาธารณะ-กึ่งสาธารณะ และการครอบครองพื้นที่ เพื่อคัดเลือกทฤษฎีที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และทำความเข้าใจลักษณะของพื้นที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ย่านแพร่งภูธร จากนั้นจึงศึกษาข้อมูลเบื้องต้นทั้งในด้านกายภาพและประวัติของพื้นที่ และทำการสำรวจพื้นที่กรณีศึกษาในภาพรวม เพื่อแยกแยะลักษณะความเป็นส่วนรวม ส่วนตัว และกึ่งสาธารณะของพื้นที่ต่าง ๆ ในย่านแพร่งภูธร ร่วมกับการเก็บข้อมูลการใช้พื้นที่หน้าตึกแถว จำนวน 101 คูหา ในช่วงวันเวลาที่ต่างกัน โดยวิธีการสังเกต บันทึกภาพ และบันทึกแบบทางสถาปัตยกรรม แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อทดลองสร้างเครื่องมืออ่านการครอบครองพื้นที่ด้วยวัตถุหน้าตึกแถวแบบตารางสีและอ่านผล


               ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่กรณีศึกษานี้มีวิธีการครอบครองพื้นที่กึ่งสาธารณะที่เด่นชัดอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1) การใช้วัตถุครอบครองพื้นที่ และ 2) การใช้วัตถุเพื่อการอ้างสิทธิในการครอบครองพื้นที่ เครื่องมือที่สร้างขึ้นช่วยสร้างความเข้าใจการแสดงออกของพื้นที่กึ่งสาธารณะได้ดีกับทั้งการวิเคราะห์การครอบครองพื้นที่ด้วยวัตถุและการอ้างสิทธิในการครอบครองพื้นที่ด้วยวัตถุ ในส่วนของการวิเคราะห์การครอบครองพื้นที่นั้น เครื่องมือนี้สะท้อนให้เห็นระดับความเป็นส่วนตัวของพื้นที่ที่เพิ่มมากขึ้นตามความเป็นส่วนตัวของวัตถุที่ใช้ในการครอบครองพื้นที่ และแสดงถึงการใช้งานพื้นที่ของบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสังเกตผ่านตัวบุคคลก็ได้ เครื่องมือที่สร้างในการศึกษาครั้งนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ทำความเข้าใจการครอบครองพื้นที่กึ่งสาธารณะในพื้นที่อื่น ๆ ได้


 


                Within space occupancy frameworks, this paper aims to design a space reading tool for understanding the latent meaning in the representative of the in-between space upfront row houses. The space covers complicated usage and different space-occupancy form spatial theory, in-between space. Accordingly, space reading tool was generated and examined on a pilot case study at upfront row house spaces in Phraeng Puthon due to the hypothesis of identifying meaning of space by the privacy degrees.


               To design and test a tool for reading the occupying objects, 4 following stages of method are operated. Firstly, study, analyze and conclude two sets of spatial theories; private-public-in between space and occupying space. Secondly, document the physical data and history of Phraeng Puthon. Thirdly, field survey on 101 in-between spaces upfront row houses in Phraeng Puthon at different time-periods using observing, photographing, and architectural drawing. Finally, design Color Pixel Tool and apply on the area of this study.


               In conclusion, two outstanding methods were consequently found in the in-between space at Phraeng Phuthon, occupying object and territorial claim with marking object. The developed tool is quite suitable for the above methods. The result shows that the specific characteristics of occupying objects not only vary the privacy degrees of this in-between space but also represent the use of space and activities without human body. This Tool could be useful for understanding the occupancy of other in-between spaces.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ