คุณลักษณะและรูปแบบการใช้งานพื้นที่ว่างสาธารณะเพื่อกิจกรรมการค้าและบริการ ในย่านพาณิชยกรรมเมืองตรัง (The Characteristics and the Use Patterns of Public Open Spaces for Commercial and Service Activities in the Commercial Area, Trang Town)

Main Article Content

พรทิพย์ กิ้มนวน (Pornthip Kimnuan)
สุพักตรา สุทธสุภา (Supagtra Suthasupa)

Abstract

                    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบกิจกรรมการใช้งานกับคุณลักษณะของผู้ใช้งานในพื้นที่ว่างสาธารณะในย่านพาณิชยกรรม  2) หาเหตุผลด้านคุณลักษณะสัณฐานเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้พื้นที่ว่างสาธารณะ  3) หาคุณลักษณะองค์ประกอบทางกายภาพในพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีความสำคัญต่อการใช้งานของผู้ใช้พื้นที่ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกกลุ่มพื้นที่ว่างสาธารณะเพื่อกิจกรรมการค้าและบริการในย่านพาณิชยกรรมเมืองตรัง ซึ่งใช้เกณฑ์ด้านประโยชน์ใช้สอยหลักของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่างสาธารณะ และเกณฑ์ด้านจำนวนผู้ใช้งานที่มากที่สุด จากการสำรวจพื้นที่สาธารณะทั้งหมดในย่านพาณิชยกรรมเมืองตรัง ประกอบด้วย 3 พื้นที่ย่อย คือ 1) ถนนหลังตลาดสดเทศบาลนครตรัง  2) ถนนรื่นรมย์ตลาดนัดตอนเย็น  3) ถนนย่านการค้าสถานีรถไฟตรัง  การเก็บข้อมูลประกอบด้วย การสำรวจพื้นที่ว่างสาธารณะเพื่อกิจกรรมการค้าและบริการทั้ง 3 พื้นที่ โดยสำรวจถึงองค์ประกอบกายภาพ จำนวนผู้ใช้งาน พฤติกรรมรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาปรับใช้กับแบบสอบถามซึ่งอาศัยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 90 ตัวอย่าง จากนั้นสรุปผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน  ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกทำ กิจกรรมทางเลือก คือ การใช้พื้นที่เพื่อเดินเลือกซื้อสินค้า ทานอาหาร และเครื่องดื่ม สำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันในพื้นที่ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด มากกว่ากิจกรรมจำเป็น คือ การมาทำงานด้านค้าขาย บริการ หรือ เดินผ่านพื้นที่เพื่อทำกิจวัตรประจำวัน โดยกิจกรรมทางเลือกดังกล่าว มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของผู้ใช้พื้นที่ ด้านที่อยู่ปัจจุบัน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05 (Sig=0.009)  โดยกลุ่มผู้ใช้งานที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครตรังทำกิจกรรมประเภทนี้มากที่สุด  ขณะที่ปัจจัยสัณฐานเมืองที่เป็นเหตุผลสำคัญในการเลือกใช้พื้นที่ว่างสาธารณะในการศึกษานี้ คือ โครงข่ายระบบสัญจรที่เอื้อให้เข้าถึงพื้นที่ได้ง่าย ติดถนนสายหลัก เดินทางสะดวก  และคุณลักษณะองค์ประกอบกายภาพในพื้นที่ว่างสาธารณะ ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อการใช้พื้นที่สาธารณะนี้ คือ องค์ประกอบด้านความปลอดภัย ( = 3.79) โดยมีองค์ประกอบย่อยที่สำคัญ คือ การมีจุดตรวจ กล้องวงจรปิด หรือป้อมตำรวจ ในการดูแลความปลอดภัยพื้นที่ และองค์ประกอบด้านเอกลักษณ์ภายในพื้นที่ ( = 3.74) โดยมีองค์ประกอบย่อยที่สำคัญ คือ การมีร้านค้าที่มีสินค้าหลากหลายตรงกับความต้องการซื้อขายในพื้นที่ จากผลการศึกษา จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ส่งเสริมกายภาพพื้นที่ว่างสาธารณะเพื่อกิจกรรมการค้าและบริการ ให้รองรับการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1) มาตรการด้านผังเมือง ที่มุ่งเน้นพัฒนาการเชื่อมต่อพื้นที่ว่างสาธารณะเพื่อกิจกรรมการค้าและบริการ อย่างเป็นระบบด้วยโครงข่ายทางสัญจร ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงพื้นที่ว่างสาธารณะ  2) การจัดทำแผนบริหารจัดการภายในพื้นที่ว่างสาธารณะ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ ดูแลรักษาพื้นที่ให้สะอาด เป็นระเบียบ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ


 


                   The purposes of this research were 1) to study the relationship between the use patterns and the characteristics of the users in public open spaces at the commercial area, 2) to find the urban morphological features that affected the users’ decision to use the public open spaces, and 3) to explore the characteristics of the physical elements, in the public open spaces, that were important to the users. The study area was the public open space for commercial and service activities in the commercial area of the Trang town.  The criteria used for selecting the study area were the major type of activities and the high numbers of users in the public open spaces.  There were 3 sub areas: the street behind the Trang Municipality building, Ruenrom Street Night Market, and Trang Railway Station Walking Street.  The data were collected from a survey of users and activities in the public open spaces.  A questionnaire survey was conducted with 90 samples.  The data were analyzed by descriptive and inferential statistical techniques.  The results of the study showed that the sample group mostly preferred to do optional activities such as shopping and buying food and drinks.  These activities were more often found than the necessary activities such as selling and walking in daily lives.  There was a relationship between the optional activities and the characteristics of users in terms of the residences' location.  It is statistically significant at 0.05 level (Sig = 0.009).  The users who lived in the Trang Municipality mostly involve these optional activities.  The morphological reason to support the uses in the public open spaces was the road network with an easy access to the area, adjacent to the main roads and a convenient transportation.  The characteristics of the physical elements, in the public open space, which the sample group highly considered was the safety condition ( = 3.79) and the identity condition ( = 3.74).The features in this physical element of safety condition were a CCTV (a closed-circuit camera), checkpoints and a police booth and those of the physical element of identity condition were a variety of shops and products. According to the study results, the recommendations for the improvement and enhancement of the public open spaces for commercial and service activities were developed in 2 approaches: 1) the urban planning measures that aim to develop the connecting system of urban open spaces for commercial and service activities, and to provide convenient accesses to the areas, and 2) the efficient management plan, to keep the areas clean and safe as well as to support the place identity of the public urban open spaces.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ