วิถีชีวิตและการปรับตัวต่อความเสี่ยงของการกัดเซาะชายฝั่ง: กรณีศึกษาชาวประมง ชุมชนตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Livelihood and Adaptation to Coastal Erosion Risk: A Case Study of Fishermen in Ta Mong Lai Community in Prachuap Khiri Khan Province)

Main Article Content

ภชชา สิงหเสมานนท์ (Patcha Singhasemanonda)
อัจฉรา วัฒนภิญโญ (Ajchara Wattanapinyo)

Abstract

              ชุมชนตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จำเป็นต้องมีการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบจากภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต โดยเฉพาะกับชาวประมง อันเป็นอาชีพหลักของคนในชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และศึกษาวิถีชีวิตและการปรับตัวของชาวประมงต่อความเสี่ยงของการกัดเซาะนั้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 39 ราย ประกอบไปด้วยชาวประมง รวมไปถึงผู้นำชุมชนและตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง


               ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่งอย่างมากจากองค์ประกอบหลายประการ ทั้งตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนที่มีความล่อแหลมต่อการถูกกัดเซาะ เนื่องจากอยู่ติดกับอ่าวประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเปิดรับคลื่นลม ในขณะเดียวกัน ชาวประมงขาดความตระหนักถึงปัญหา เนื่องจากขาดความรู้ความสามารถและมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณในการรับมือกับภัยที่เกิดขึ้น ความเสี่ยงดังกล่าวจึงส่งผลต่อวิถีชีวิตและสภาพจิตใจของชาวประมง พวกเขาจึงต้องพยายามแสวงหาวิธีการปรับตัวโดยการสร้างความร่วมมือภายในชุมชน ผ่านการให้ความร่วมมือต่อการเข้าร่วมประชุมของชุมชน การบรรเทาด้วยปักแนวรั้วไม้ไผ่ และการก่อตั้งธนาคารปูม้า รวมไปถึงการขอความช่วยเหลือจากเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ในการเรียงหินในพื้นที่กัดเซาะรุนแรง


 


                Ta Mong Lai community in Prachuap Khiri Khan Province has experienced coastal erosion. Risk assessment to this disaster is essential in order to understand causes and effects. Several changes from disaster have impacted on livelihood, particularly fishermen which is the main occupation of local people. This researcher therefore aims to analyze coastal erosion risk and explore livelihood and adaptation among fishermen in this community. Qualitative research becomes a core approach by conducting in-depth semi-structured interview to 39 respondents including fishermen, as well as local leaders and representatives from related stakeholders. 


               Results indicated that this community is heavily prone to coastal erosion from several reasons. Physical location of the community is exposed to erosion as it is located close to Prachuap Khiri Khan bay and affected by sea breeze. Fishermen, meanwhile, did not really recognize to problems because of knowledge and budget deficit in coping with disaster. Risk from coastal impacted on livelihood and spirit of fishermen, then they have attempted to adapt by initiating collaboration within a community through local meeting attendance, the mitigation through bamboo fence, and the establishment of blue swimmer crab bank. In addition, local community has been supported by Prachuap Khiri Khan Municipality through the construction of rock embankment in severe coastal erosion areas.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ