ศักยภาพการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกตลาดโซ่อุปทาน ในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี (Potential of “NAM DOK MAI” Mango Production through Supply Chain for Export in Ratchaburi Province)

Main Article Content

รัตติญา งามระบำ (Rattiya Ngamrabam)
เอมอร อังสุรัตน์ (Am-On Aungsuratana)
ปราโมทย์ สฤษดิ์นิรันดร์ (Pramote Saridnirun)

Abstract

               วัตถุประสงค์เฉพาะของงานวิจัย เพื่อศึกษาถึง 1) สถานการณ์การผลิต และสถานการณ์การตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้ 2) ต้นทุน และผลตอบแทนในการผลิต และ 3) ปัจจัยเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลาดโซ่อุปทานในธุรกิจการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก ในเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ในเขตพื้นที่ศึกษา จำนวน 30 ตัวอย่าง ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ส่วนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่น ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบสัมภาษณ์เกษตรกร ส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่น ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ที่ใช้ในการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


               ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีอาชีพหลัก คือ ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เฉลี่ย 31.97 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เฉลี่ย 17 ปี แรงจูงใจในการปลูกที่พบมากที่สุด คือ รายได้ดี ผลผลิตเฉลี่ย 885.07 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 47.70 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนเฉลี่ยทั้งหมด 24,709.25 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปรที่เป็นเงินสดเฉลี่ย 17,040.21 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปรที่ไม่เป็นเงินสดเฉลี่ย 7,669.04 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่ 55.00 บาทต่อไร่ รายได้จากการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ทั้งหมดเฉลี่ย42,531.33 บาทต่อไร่ กำไรสุทธิเฉลี่ย 26,834.73 บาทต่อไร่ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่เป็นภูมิหลังบางประการของเกษตรกร ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก ประกอบด้วย การเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน อายุ การได้รับการสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต การได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร จำนวนแรงงานในครัวเรือน และต้นทุนการผลิต ตามลำดับ


 


              The specific objective of the study were to determine 1) existing condition of “NAM DOK MAI” mango production and marketing,2) production cost and return, and 3)factors related to possibility in “NAM DOK MAI” mango technology application for export . Studied samples were the stakeholders in export “NAM DOK MAI” mango business, Ratchaburi provincial areas. Sampling technique for 30 selected cultivators in the study areas was employed through multistage sampling technique. The rest stakeholders were selected through purposive sampling technique. Interviewing schedule and in depth interviewing schedule were obtained to collect data form cultivators and the rest stakeholder, respectively. Descriptive statistics were frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. Inferential statistics to analyze factor related to the possibility in “NAM DOK MAI” mango technology application for export was Pearson product moment correlation coefficient.


            The findings revealed that major occupation of almost cultivator was “NAM DOK MAI” mango planting for export. Average cultivated areas was 31.97 rai. Average cultivated experience was 17 years. Most incentive for cultivation was high income. Average yield was 885.07 kg/ rai/ year. Average price was 47.70 baht/ kg. Average cost was 24,709.25 baht/ rai. Average variable cash cost was 17,040.21 baht/ rai. Average variable non cash cost was 7,669.04 baht/ rai. Fixed cost was 55.00 baht/ rai. Average gross income was 42,531.33 baht/ rai. Average net income was 26,889.73 baht/ rai. Average net profit was 26,834.73 baht/rai. Testing  hypothesis pointed out that some  factors of cultivators related to possibility in “NAM DOKMAI” mango technology application for export were group belonging in the community, age, supporting to enhance production capability, farm media perception, family labor force, and also production cost, respectively.


 


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ