ความพร้อมของชุมชนกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ของวนอุทยานน้ำตกผาหลวง จังหวัดอุบลราชธานี (Community Preparedness and Spatial Development for Eco-tourism in Pha Luang Waterfall Forest Park, Ubon Ratchathani Province)

Main Article Content

วรกันยา พรหมพล (Worakanya Promphon)
อัจฉรา วัฒนภิญโญ (Ajchara Wattanapinyo)

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของวนอุทยานน้ำตกผาหลวง และศึกษาความพร้อมของประชาชนชุมชนบ้านนาเลินในการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และแบบสอบถามทัศนคติต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในชุมชนบ้านนาเลิน จำนวน 266 คน โดยใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ร่วมกับการสนทนากลุ่มกับตัวแทนชุมชน จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และการสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริบททั่วไปของพื้นที่จากเจ้าที่หน้าที่วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จำนวน 3 คน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาเลิน จำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัยและนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


            ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณค่าและความเสี่ยงต่อการถูกทำลาย ได้ 25 คะแนน ด้านศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว 15 คะแนน และด้านการบริหารจัดการ ได้ 23.25 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับมาตรฐานดี สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญได้ โดยมีการจัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับนักท่องเที่ยว และอนุญาตให้ชุมชนเข้ามาใช้และเก็บทรัพยากรในพื้นที่ได้ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของวนอุทยาน ซึ่งวนอุทยานได้จัดทำแผนติดตามประเมินผลการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติอยู่เสมอ แต่การพัฒนาด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ยังมีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวยังมีน้อย สำหรับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดในการได้รับความรู้และความบันเทิง รองลงมาคือ การให้บริการของเจ้าหน้าที่ และพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว สำหรับผลการวิจัยความพร้อมของชุมชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อนักท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยว เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มีความหลากหลายสวยงาม และการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้น สร้างความเจริญและรายได้แก่ชุมชน ด้านผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ชาวบ้านคิดว่าพวกเขาสามารถรับมือได้ แต่ไม่มั่นใจในประเด็นการรับมือและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ โดยพวกเขาพร้อมและเต็มใจให้ความร่วมมือทุกขั้นตอน เห็นได้ว่าชาวบ้านพร้อมให้ความร่วมมือที่ดี แต่มุ่งหวังในด้านเศรษฐกิจและจำนวนนักท่องเที่ยวเป็นหลัก แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของวนอุทยานน้ำตกผาหลวงที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน จึงควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงหลักการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อเป็นการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป


 


              This research was conducted to study the spatial development of eco-tourism in Pha Luang Waterfall Forest Park and study the preparedness of the Ban Na Lern community to participate in eco-tourism development. Conducted by using the evaluation of quality standards for natural attractions and the tourist satisfaction questionnaire of 80 tourist samples by accidental sampling and the attitude of people in community questionnaire toward eco-tourism development of the 266 samples by using a sample size calculated according to the Yamane’s formula and simple random sampling. Including focus group discussion with the 8 community representatives were selected by using purposive sampling. And interview information about the general context of the area from leader of Pha Luang Waterfall Forest Park of 3 people and officer of Baan Na Learn sub district administrative organization of 2 people. Analyze the data from the research and presented by descriptive statistics.


               The results revealed that the evaluation result of quality standard for this natural attraction based on 3 aspects namely the value of natural resources and the risk of being destroyed 25 points, the potential of tourism development 15 points and the management 23.25 points which is at the good level and can be developed to be an essential eco-tourism attraction by providing natural study trail for tourist and allowing the community to use and gather natural resources under the control of the forest park. The forest park also regularly monitors and evaluates changes in natural resources. However, the development of services and facilities for tourism has budget constraints and participation of the community is still low. In the satisfaction of tourists, it was found that the most satisfaction is education and entertainment, follow with the service of officers and the least satisfaction is the accessibility. The results on community preparedness to be participated in eco-tourism development showed that most villagers have positive attitude to tourists and tourism development due to the variety of natural resources in the area are beautiful and the development can increase number of tourists, create prosperity and income to the community even more. The potential impact on the community, villagers think they can cope but not confident in the issue of coping and resolving the potential impact on natural resources. However, they are ready and willing to participate with every procedure. It indicates that the villagers are ready to participate but focus on economic and the number of tourist. Guidelines for eco-tourism development of Pha Luang Waterfall Forest Park appropriate to the community context therefore, should promote participation in the tourism development of community by creating knowledge and understanding of eco-tourism principles and conservation of natural resources to people in the community for sustainable tourism area development.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ