การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะการโต้แย้งโดยใช้ประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Development of Criteria for Evaluating Argumentation Skills Utilizing Socioscientific Issues for Ninth Grade Students)

Main Article Content

ภาวิณี รัตนคอน (Pawinee Rattanakorn)
นันทรัตน์ เครืออินทร์ (Nantarat Kruea-In)
กุลธิดา นุกูลธรรม (Kulthida Nugultham)

Abstract

              การจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดทักษะการโต้แย้ง โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เป็นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ เนื่องจากช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความเข้าใจ ได้ฝึกการเลือกใช้ข้อมูลและหลักฐานที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ในการสร้างข้อโต้แย้ง ซึ่งการโต้แย้งที่ดีต้องนำแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมมาสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนเองได้ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะการโต้แย้งโดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนใช้แนวคิดวิทยาศาสตร์ในการโต้แย้งขึ้นจากงานวิจัยของ Lin และ Mintzes (2010) โดยสร้างเป็นแบบทดสอบคำถามปลายเปิดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์จำนวน 3 สถานการณ์ และเกณฑ์การประเมินทักษะการโต้แย้งซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ที่สามารถนำคะแนนเฉลี่ยมาแปลผลเพื่อจัดกลุ่มระดับทักษะการโต้แย้งได้ โดยเมื่อนำเกณฑ์การประเมินทักษะการโต้แย้งและแบบทดสอบทักษะการโต้แย้งที่ได้พัฒนาขึ้นไปทดลองวัดทักษะการโต้แย้งของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 คน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.33) มีทักษะการโต้แย้งระดับปานกลาง


 


               Learning management aiming to enhance student argumentation skills through socioscientific issues is a process to make students  gain scientific knowledge. Such learning can encourage them to exchange their understanding and practice to choose quality and reliable data and evidence in argumentation. To construct good arguments, students need to select appropriate science concepts to support their claims. Based on the research done by Lin and Mintzes (2010), in this study, the researchers developed an Instrument for argumentative skills using socioscientific tissues that focus on students' use of science concepts in argumentation. An open-ended questionnaire was developed with 3 socioscientific scenarios.  Its scoring criteria of can be used to interpret student responses into 5 levels of argumentation skills.  The questionnaire and the scoring criteria for argumentation skills were tried out with 12 ninth grade students. It was found that the majority of the students possessed the moderate level of argumentation skills for 58.33%.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ