ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตของ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Effects of Group Activities on the Development of Emotional and Resilience Quotients of the First Year Nursing Students of -) Effects of Group Activities on the Development of Emotional and Resilience Quotients of the First Year Nursing Students of Suranaree University of Technology

Main Article Content

ศักดา ขำคม (Sakda Khumkom)

Abstract

           กิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาได้ ผ่านการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเอง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง            มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยทั้งสองกลุ่ม มีปัจจัยเพศ อายุ เกรดเฉลี่ย คะแนนประเมิน EQ และ RQ ที่ใกล้เคียงกัน ได้อาสาสมัครกลุ่มควบคุม จำนวน 35 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับเข้าร่วมการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากกิจกรรมของกรมสุขภาพจิต จำนวน 13  กิจกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการเรียนการสอนตามปกติ ใช้สถิติ t- test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. คะแนนเฉลี่ยของความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มทดลอง หลังได้เข้าร่วมกิจกรรมสูงมากกว่าก่อนได้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และคะแนนเฉลี่ยของความฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มทดลองหลังได้เข้าร่วมกิจกรรม สูงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. คะแนนเฉลี่ยของพลังสุขภาพจิตของกลุ่มทดลองหลังได้เข้าร่วมกิจกรรมสูงมากกว่าก่อนได้เข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  และคะแนนเฉลี่ยของพลังสุขภาพจิตของกลุ่มทดลองหลังได้เข้าร่วมกิจกรรม สูงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               จะเห็นว่า การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิต สามารถช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์และพลังสุขภาพจิตสูงขึ้นได้  ดังนั้น ผู้สอนควรนำกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21


 


              Group activity was a method that could help in developing emotional and resilience quotients  of students. It was learning by doing which could help in creating changes and self-improvement in the participants. This quasi-experimental research aimed to examine an effect of group activities on the development of emotional and resilience quotients among nursing students. Sixty-nine first year nursing students of Suranaree University of Technology participated in this study. Participants were purposively assigned to control (n=35) and experimental (n=34) groups, matching for gender, age, grade point average, EQ, and RQ scores. The experimental group received 13 group-based activities targeting the development of emotional and resilience quotients that the researcher adapted from the activities of the Department of Mental Health. The control group received routine learning activities. Data were analyzed by t – test for compare mean score of emotional and resilience quotients.


               The results of the study were as followed:


  1. The experimental group had an increased mean score of emotional quotients when compared with that from before the experiment (p < .001). In addition, the score was significantly higher than that of the control group. (p < .01)

  2. The experimental group had higher mean score on resilience quotients than that before the experiment (p < .001). The score was significantly higher than that of the control group. (p < .05)

               The study results indicated the group activities can increase emotional and resilience quotients among nursing students. Therefore, lecturers should adopt classroom group activities to improve desirable characteristics of nursing students, which would reflect learning outcome of the 21st century.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ