แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Development Guideline of Gastronomy Tourism Management)

Main Article Content

ปฤณพร บุญรังษี (Prinnaporn Bunrangsee)
สันติธร ภูริภักดี (Santidhorn Pooripakdee)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้หลักการวิจัยเอกสาร (Document Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริง ปัญหา และอุปสรรคของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย และการศึกษาในเชิงปริมาณได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยเกี่ยวกับการบริการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทย


               ผลการศึกษาพบว่ามีด้านที่ควรพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรม เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งจัดแบ่งได้ 7 ด้าน คือ ด้านกิจกรรม ด้านการบริการ ด้านราคา ด้านความสะอาด ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านชุมชน และด้านองค์กรสนับสนุน สำหรับผลการวิจัยจากแบบสอบถามแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหารของไทยในด้านความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือด้านกิจกรรม ด้านองค์กรสนับสนุน ด้านการบริการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านราคา และอันดับสุดท้าย คือด้านชุมชนตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริง ปัญหาและอุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทย รวมไปถึงทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอาหาร และข้อควรพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารต่อไป


 


              This study is a mixed method research. The document research is used as qualitative method to summarize the current situation of gastronomy tourism management in Thailand as well as problems and threats. The quantitative method is applied through questionnaire survey in order to explore need assessment of Thai tourism for gastronomy tourism.


               According to results of the documentary research, there are seven aspects of gastronomy tourism management: activities, services, price, hygiene, public relations, community and supporting organizations. The questionnaire survey revealed that Thai tourists prioritized hygiene as the most important aspect of gastronomy tourism and following by activities, supporting organizations, public relations, price and community respectively. The findings enable better understanding of current situation of Thai gastronomy tourism, problems and threats. As well, the further development guideline of Thai gastronomy tourism are noted.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts