ผลการจัดกิจกรรมศิลปะผสานแนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย (The Effects of Providing Art Activities on Task-based Approach to Enhance English Communication Skills for Young Children)

Main Article Content

ศศิภา อุดมพรเทพสกุล (Sasipa Udomphonthepsakun)
อรพรรณ บุตรกตัญญู (Oraphan Butkatunyoo)
เพ็ญศรี แสวงเจริญ (Pensri Sawangchareon)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะผสานแนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


              กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ของโรงเรียนอนุบาลคหกรรรมศาสตร์เกษตร กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมศิลปะ  ผสานแนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐานจำนวน 30 แผน แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับ เด็กปฐมวัย และแบบประเมินการพูดนำเสนอผลงานศิลปะ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ทดสอบค่า t และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะผสานแนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการทดลองสูงกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการพูดนำเสนอผลงานศิลปะในสัปดาห์สุดท้ายสูงกว่าสัปดาห์แรก ทั้งนี้เด็กปฐมวัยมีการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังและการพูดโดยเด็กปฐมวัยฟังและปฏิบัติตามได้ พูดตอบคำถาม พูดโต้ตอบขณะทำกิจกรรม และพูดนำเสนอผลงานศิลปะโดยใช้คำศัพท์หรือประโยคภาษาอังกฤษอย่างง่ายผ่านหัวเรื่อง วัสดุอุปกรณ์ และองค์ประกอบศิลป์ได้


 


             The purpose of this research was to study the effects of providing art activities on task-based approach to enhance English communication skills for young children. The subjects used in this research were 29 boys and girls at the age four to five years who enrolled at the second level in the second semester of 2017 of Kaset home economics kindergarten school by cluster sampling. The instruments used in this research were 30 lesson plans of art activities on task-based approach, the assessment form of English communication skills for young children and the assessment form of art works presentation in 10 weekly. The data was analyzed by mean, standard deviation, t-test and content analysis.


               The research results showed that young children who participated in art activity on Task-based approach had posttest mean scores higher than pretest mean scores at .05 level of significance and the mean scores of the art work presentation in the last week was higher than the first week. Thus, young children had English communication skills in listening and speaking they listened and practiced, answered questions, interacted conversation while did activities and presented artworks by used vocabularies or simple of English sentences through the subject, materials and elements of art.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ