การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปาง (Development of Training Curriculum Integrated with Pga K’nyau’ Lifestyle to Enhance Self-Esteem for Students in Ban Pong Nam Ron School, Lampang Province.)

Main Article Content

สุจิตรา ปันดี (Sujitra Pandee)

Abstract

                 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอ และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอ กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปาง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชีวิตชนเผ่าปกาเกอะญอเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดลำปาง และ 3)แบบประเมินผลการใช้หลักสูตรฯ


             ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมกลาง จังหวัดลำปาง ภาพรวมระดับการเห็นคุณค่าในตนเองทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองต่ำที่สุดคือ ด้านบุคลิกลักษณะของตนเอง ด้านการศึกษา และด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคมตามลำดับ 2) องค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ระยะเวลา สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เอกสารประกอบหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งนำหลักสูตรไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสม พบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้ 3) ผลการนำหลักสูตรไปใช้ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพบว่า 3.1) ครูส่วนใหญ่มีความสามารถในการออกแบบหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับดี เท่ากับ 3 คะแนน หมายถึง มีการกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลการเรียนรู้โดยบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิตปกาเกอะญอได้สมบูรณ์ 3 หน่วยและแผนการเรียนรู้  3.2) ครูมีความคิดเห็นต่อการร่วมกิจกรรมในหลักสูตรในระดับเห็นด้วยมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ กิจกรรมช่วยในการปฏิบัติการด้านการออกแบบหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิถีชิวิตชนเผ่าเพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน อยู่ในระดับเห็นด้วย มากที่สุด 3.3) ภายหลังที่ผู้เรียนได้เรียนตามแผนการเรียนรู้บูรณาการ ภาพรวม 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองสูงที่สุดคือ ด้านการศึกษา ด้านบุคลิกลักษณะของตนเอง และด้านการปฏิสัมพันธ์กับสังคม ตามลำดับ


 


             The purpose of this study were to 1) study self-esteem of students in order to develop the training curriculum integrated with Pgak ‘nyau’ lifestyle  2) study results of training curriculum integrated with Pgak ‘nyau’ lifestyle.The subjects were 7 teachers at Ban Pong Nam Ron School, Lampang Province.The research instruments consisted of 1) self-esteem questionnaire, 2) training curriculum integrated with Pgak ‘nyau’ life style to enhance  self-esteem of students at Bang Pong Nam Ron school, Lampang Province; and 3) satisfaction questionnaire.


               The results of the study revealed the following:


  1. The students’ self-esteem of Pathom 6 at Ban Pong Nam Ron School, Ampur Serm Klang, Lampang Province, the overall three aspects was at a low level.

  2. The training curriculum comprised 4 components; principals and objectives, learning activities, time of learning, and curriculum evaluation. The training curriculum verified by experts was at a good level.

  3. Results after implemented the training curriculum revealed the following;

                    3.1 Most teachers were in capability in designing curriculum lesson plans and learning activities equal to 3, which mean the three lesson plans consisted of objectives, learning activities, and evaluation. 


                    3.2 Teachers’ opinion towards learning activities was at a high level.  The top rank is learning activities on training curriculum integrated with Pgak ‘nyau’ lifestyle to enhance self-esteem.  


                    3.3 Students’ self-esteem was at a medium level.  The top rank is education, personality, and interpersonal respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ