กระบวนการในการใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP สู่ระดับสากลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมTHE PROCESS OF THE CREATIVE ECONOMY TO RAISE OTOP PRODUCTS TO THE INTERNATIONAL LEVEL OF TAMBOL DON TUM, BANGLEN DISTRIC

Main Article Content

patchareeya petpaow

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). เพื่อศึกษากระบวนการในการใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 2). เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม  3). เป็นแนวทางในการพัฒนาและกำหนดนโยบายในการส่งเสริมการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในโอกาสต่อไป

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ระดับลึก (In-depth interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักทั้ง 4 กลุ่ม คือ ประธาน สมาชิก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และลูกค้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม จำนวน 13 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1.กระบวนการในการใช้เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีคุณภาพระดับสากล และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เกิดจากรายละเอียดของประเด็นย่อย ดังนี้

1.1 การเรียนรู้และการบริหารจัดการโครงการในระยะแรก

จากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และปัญหาฤดูกาลลส่งผลให้สมาชิกมีรายได้น้อยไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว  ทางกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนจึงได้แก้ไขปัญหา  โดยนำมะเขือเทศที่ล้นตลาด  และผลที่ไม่ได้ขนาดหรือมีตำหนิมาแปรรูปเป็น มะเขือเทศราชินีเชื่อมอบแห้งโดยใช้ความรู้ ของชาวบ้านตั้งแต่การเก็บผลมะเขือเทศ การคัดแยก การอบแห้ง การแช่อิ่ม ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ภาครัฐให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำเพื่อรักษาวัฒธรรมของท้องถิ่น ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของชุมชน

1.2 การกำหนดผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจมีการกำหนดผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มหลัก คือ มะเขือเทศราชินีสด และมะเขือเทศราชินีเชื่อมอบแห้ง โดยเป็นการพัฒนาและปรับปรุงสูตรของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจ ตำบลดอนตูมร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน และได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.)

1.3 การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์

หลังจากการต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “แม่ฉุย” โดยในกระบวนการแปรรูปนั้น     ได้พัฒนาเรื่องสูตรอาหารและ ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจยังได้รับรางวัลชนะเลิศสถานที่ผลิตอาหารชุมชนดีเด่นของ อ.บางเลน จ.นครปฐม ด้วย จนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ส่งไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

1.4 การประเมินผล และแผนการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไปในอนาคต การประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดี สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยทางกลุ่มให้ความสำคัญเรื่องนี้โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น คอยซักถามลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งการพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอีกด้วย

Abstract

This research aims 1) To Study the process of using the Creative Economy to Enhance the product of tambol Don Tum, Bang lan district, Nakhonpathom Province. 2) To Study the level of product development of Don Tum Community enterprise, Bang len district Nakhonpathom Province. 3) Development of guidelines and policies in order to the promote the implementation of OTOP (one tambol one product) projects.

This research is qualitative research. Data Collection by in-depth interview of main contributors are Chairman of the relevant, member stalk and Customers of Don Tum enterprise. Total 13 Persons.

The results showed that.

1. The process of the Creative Economy to raise Tambol Don Tum community enterprise products Bang len district, Nakhonpathom Province. To provide international quality products. And Consumer acceptance of Continuous and Sustainable. The details of the Subsidiaries are as follows.

1.1 Learing and Project Management in the early stages. From the issue Price of Crops agricultural slump and Seasonal issues. As a Result, there are not enough low income member raise families. By tomato juice one the Market and the result is not the size or defective into dried tomatoes to be a Queen tomato Dried by the knowledge of Villagers Since separate, drying Crystallized with Technology by government assistance and guidance to look after the local Culture for farming. This is the main occupation of the community.

1.2 Define the product.

Present the community enterprise have 2 main products group first one is a group of Queen fresh tomatoes second one is Queen Tomato consort to drying. The formula was developed by the member of Tumbol Don Tum Community Enterprise with Food Institute Kasetsart University, Bang khen branch and get a guarantee Qualily from Food and Drug Administration (FDA)

1.3 Development of Product quality.

After being furthe processed into a product “Mather Shui” by Processing it. The recipes have been developed and approved by the Food and Drug Administration (FDA). In addition, the community enterprise also won the reward excellent locally produced food Community, of the Bang Len district’s which standing and sent to domestic and International for sale.

1.4 Evaluation and Community enterprise development plans in the future.

The performance evaluate continuously to maintain the health of product Quality, Satisfaction to the customers. By the way the Enterprise Group open mind to turning feedback by Customer inquiries on going. To improve’s product better. As well as trying to solve problem that arise in the manufacturing process as well.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

patchareeya petpaow

กรมการพัฒนาชุมชน

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ

ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ 10120