การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนวัตกรรมการพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับโรงแรม ในจังหวัดภูเก็ต (Health Tourism and Innovation in the Development of Healthy Cuisine for Hotel in Phuket)

Main Article Content

ชัยนันต์ ไชยเสน (Chainun Chaiyasain)

Abstract

              ปัจจุบันการท่องเที่ยวสุขภาพของไทยและโลกเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เดินทางมาจังหวัดภูเก็ตได้ใช้บริการเชิงการแพทย์ เช่น การตรวจสุขภาพ ทันตกรรม และศัลยกรรมด้านความงาม และมีการแบ่งเวลาส่วนหนึ่งไปใช้บริการเชิงส่งเสริมสุขภาพ เช่น สปา นวดแผนไทย และรับประทานอาหารไทย ผลการสังเคราะห์จากการทบทวนงานวิจัย บทความ และสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พบว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นกิจกรรมที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น และอาหารเพื่อสุขภาพสามารถสร้างความเชื่อมโยงกับโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพต่างๆ ได้ ดังนั้นร้านอาหารในโรงแรมของจังหวัดภูเก็ต สามารถนำตัวอย่างรูปแบบของนวัตกรรมการบริการเชิงส่งเสริมสุขภาพ 6 ด้านมาเป็นต้นแบบและบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร พร้อมทั้งนำวัตถุดิบที่เป็นเอกลักลักษณ์ของอาหารไทยโดยเฉพาะผัก ผลไม้ และสมุนไพรไทยมาผสมผสานเพื่อพัฒนาออกแบบรายการอาหารเพื่อสุขภาพและนำไปเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต จะทำให้ร้านอาหารเพิ่มทางเลือกให้นักท่องเที่ยว สร้างมูลค่าเพิ่ม และประชาสัมพันธ์อาหารไทยเพื่อสุขภาพที่ให้ผลในการบำรุงรักษาหรือบำบัดโรค แต่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรให้มี ความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ และเข้าใจพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพของนักท่องเที่ยวในแต่ละสัญชาติเพื่อส่งมอบการบริการที่เหนือความคาดหวังและเกิดความประทับใจ


 


              Nowadays, in Thailand as well globally, health tourism is a fast-growing business. Health tourists who are travelling to Phuket for medical programs such as for an example: medical checkups, dental procedures, cosmetic surgery and beauty treatments, then spend their free time or recovery time trying other wellness services such as spa, Thai massage and Thai foods. The accumulated results from scholarly research, articles, health tourism situations reveal that health tourism gets more popular and leads to healthy cuisine combine with health tourism packages. If a restaurant in a hotel located in Phuket integrates the 6-wellness service innovation model ideas as a guideline and develops a working process with other related departments inside the organization to combine Thai raw materials and products especially vegetables, fruit and herbs which are designed for healthy Thai cuisine. Then, link the healthy Thai cuisine with the healthy tourists who come to Phuket for Thai wellness. This will help the restaurant operators in providing an alternative, by adding more value and promote Thai foods that benefit health. On the other hand, restaurant operators must also focus on associate’s development and training to add more knowledge and skills concerning healthy foods by which understanding the healthy tourists eating behavior from each nationality will aid in providing service above the normal expectations, leaving the Healthy tourist thoroughly impressed.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts