การพัฒนาสื่อแอนิเมชันรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติเยาวชนไทย เพื่อโครงการ “บัณฑิตไทย โตไปไม่โกง” (Development of animated media for adjusting thai youth’s attitude for corruption-free for thai graduates)

Main Article Content

วันวิสาข์ พรมจีน (Wanwisa Promjeen)

Abstract

                 งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติหยุดการทุจริตทางการศึกษา เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนสังคมไทยส่วนใหญ่คิดว่าการทุจริตทางการศึกษาเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เมื่อเยาวชนมีโอกาสหรือช่องทางในการทุจริตก็จะลงมือกระทำทันทีโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา ปัจจุบันจากผลสำรวจการทุจริตในประเทศไทยสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดตั้งโครงการ “บัณฑิตไทย โตไปไม่โกง” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมของคนไทย ให้รักความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบ รังเกียจการโกงและไม่ยอมให้ใครโกง แต่ยังมีข้อด้อยของสื่อที่ยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายมากพอ จึงศึกษาแนวทางการสร้างสื่อที่เหมาะสมเพื่อนำสื่อมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรณรงค์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อปัญหาการทุจริต โดยใช้สื่อแอนิเมชัน3 มิติ ความยาวไม่เกิน 3 นาที จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทางการศึกษา หลักการทางจิตวิทยาความต้องการของมนุษย์ ค้นคว้าทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติ วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินการออกแบบ ผู้ชมเป้าหมายนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอายุระหว่าง 18-23 ปี พบว่าของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ กลุ่มเป้าหมายสามารถตระหนักและมีทัศนคติที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับการทุจริตทางการศึกษา ทำให้กลุ่มเป้าหมายคำถึงนึงผลเสียที่จะตามมาจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุจริตทางการศึกษาได้


 


            This research aimed to investigate the development of 3-D animated media for adjusting attitude toward corruption in education. At present, the youth in Thai society think that corruption in education is not wrongdoing. When having a chance for corrupting, they would take it without considering negative effects of doing so. According to the survey results, the statistics of corrupting in Thailand has been continually increasing. As the government has realized such issue, the project called “Corruption-Free for Thai Graduates” is created to make change of value and culture among Thai people. The project could enhance honesty, responsibility and anti-corruption. However, the media used was not attractive to the target group. Therefore, this research investigated a guideline for creating appropriate animated media for campaigning the project and promoting understanding of corruption problems.    The 3-minute 3-D animated media was created based on the related literature about corruption in education, psychological principles of human needs and 3-D animation concept and theories. The data obtained from the target group was analyzed to create the animated media. The target audience was university students aged between 18-23 years old. The findings showed that the target group was satisfied with the 3-D animated media and had precise attitude toward corruption in education as well as realizing negative effects which lead to adjusting attitude toward corruption in education.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts