การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนา (Self –development with Buddhism Principles)
Main Article Content
Abstract
ตามแนวคิดทางพุทธศาสนาการพัฒนาตนเป็นการเรียนรู้และการปฏิบัติเพื่อไปสู่ความพอดี หรือการมีดุลยภาพของชีวิต มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนระหว่างการดำเนินชีวิตของบุคคล กับสภาพแวดล้อมและมุ่งการกระทำตนให้มีความสุขด้วยตนเอง รู้เท่าทันตนเอง เข้าใจตนเองมากกว่าการพึ่งพาอาศัยวัตถุ จึงเป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตที่ยั่งยืน หลักการพัฒนาตนตามแนวพุทธศาสนาอันประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ทมะ ได้แก่ การรู้จักข่มใจ ข่มระงับความเคยชินที่ไม่ดีทั้งหลายได้ ไม่ยอมให้กิเลสรบเร้า หลอกล่อ ชักนำไปสู่ความเลวร้ายได้ และ การฝึกปรับปรุงตนเอง โดยทำคุณความดี ให้เจริญก้าวหน้า 2) สิกขา คือการศึกษา เพื่อให้รู้แจ้ง รู้จักประโยชน์ มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตัวเอง เป็นกระบวนการฝึกฝนตนเองในการดำเนินชีวิต เรียกว่า ไตรสิกขา 3)ภาวนา คือ คำนี้ตรงกับคำว่าพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย กายภาวนา ศีลภาวนา และปัญญาภาวนา เทียบได้กับการพัฒนาทางกาย พัฒนาทางสังคม พัฒนาอารมณ์ และพัฒนาสติปัญญา
According to the concept of Buddhism, self-development is the best way of learning and practice that conducts the balance of life and happlily get along with the circumstances. In addition, Self-understanding leads to sustainable life development. Self- development includes 3 elements: 1) torelance-the troelance the torelance of all defilements, 2)study-the enlightenment on the value of lifelong-learning with threefold-training, 3)cultivation or improvement–the physical cultivation, virtue cultivation and wisdom cultivation.Those consequences bring about physical development, mental development as well.