การศึกษาการนวดไทย 4 ภาค : การวิเคราะห์องค์ความรู้ และการศึกษาวิธีการปฎิบัติเชิงประจักษ์ (The Study of Four-Region Thai Massage: An Analysis of the Body of Knowledge and an Empirical Investigation of Practices)
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้การนวดในประเทศไทย 4 ภาค และ 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติเชิงประจักษ์โดยทำการสังเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้การนวดไทย เทคนิคการนวด ผู้ให้บริการนวดและผู้รับบริการนวด ผู้วิจัยได้ศึกษาองค์ความรู้การนวดไทยโดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องยอนหลัง 10 ป ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึงปี พ.ศ. 2556 และดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) กำหนดเกณฑ์ในการวิเคราะห์ 4 หลักเกณฑ์ คือ ประเด็นสำคัญ (Gist) ข้อมูลที่เหมือนกัน (Similarities) ประเภทข้อมูล (Categories) และความต้องการในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม (Needs)
ผลการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า
1) องค์ความรู้การนวดไทยทั้ง 4 ภาค มีวิธีการวินิจฉัยอาการคือการซักประวัติผู้ป่วย วิธีการรักษาในภาคใต้นั้นจะแตกต่างจากภูมิภาคอื่นซึ่งเรียกว่า “มโนราห์เหยียบเสน” สมุนไพรท่ีหมอพื้นบ้านทั้ง 4 ภาคใช้คือสมุนไพรเดี่ยวและสมุนไพรตำรับ หมอพื้นบ้านภาคเหนือมีการใช้ไม้ค้อนกับลิ่มตอกเส้นซึ่งเรียกว่า “การนวดตอกเส้นล้านนา”
2) เทคนิคการนวด พบว่า เทคนิคการนวดไทยแบบราชสำนักนั้น พนักงานนวดจะใช้นิ้วมือเป็นหลักและท่าทางการนวดจะเน้นความสุภาพ สำหรับเทคนิคการนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ พบว่า ทั้ง 4 ภาค มีเทคนิคการนวดที่เหมือนกัน คือ การดัด การดึง การบีบ และการเหยียบ
3) ผู้ให้บริการนวด ควรมีความรู้พื้นฐานการแพทย์แผนไทย สมุนไพรเบื้องต้นเกี่ยวกับสาธารณสุขพื้นฐาน เวชกรรมไทยเบื้องต้น สุขภาพจิตพื้นฐาน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยา การปฐมพยาบาลเบื้องต้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนวดไทย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนวดไทย กายวิภาคศาสตร์สำหรับการนวดไทยเส้นประธานสิบกับการเกิดโรค พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และระบบสุขภาพแห่งชาติ
4) ผู้รับบริการนวด พบว่า ปัจจัยในการเลือกใช้บริการ ความพึงพอใจและพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการคือความสะอาดของสถานที่ อัตราคาบริการ และจํานวนชั่วโมงการใหบริการ
ผลการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า
1) องค์ความรู้การนวดไทย ผู้วิจัยเลือกประเด็นปัญหา “การนวดน้ำมันวัดน้ำวน รักษาโรคกระดูก” เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้คือ (1) วิธีการวินิจฉัยอาการ (2) วิธีการรักษา (3) สมุนไพรท่ีใช้ในการรักษา และ (4) ความเช่ือหรือข้อบังคับในการเป็นหมอนวด
2) เทคนิคการนวด ผู้วิจัยเลือกประเด็นปัญหา “เทคนิคการนวดไทยช่วยแก้อาการปวดศีรษะซึ่งเกิดจากความเครียด” เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้คือ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยมีการใช้เทคนิคการนวดไทยแบบราชสำนักและแบบเชลยศักดิ์ มีการถ่ายทอดความรู้โดยการสอน แนะนำ อธิบาย ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง มีการใช้ตำราและ VCD เป็นสื่อการสอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
3) ผู้ให้บริการนวด ผู้วิจัยเลือกประเด็นปัญหา “การใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานและภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันสำหรับอาชีพพนักงานนวดไทย” เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้คือ (1) กรณีที่ต้องให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติพนักงานสปาและนวดไทยมีการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันสำหรับการทักทายลูกค้าในการทำงาน (2) มีการใช้คำ วลี และประโยคตามมาตรฐานของทางโรงแรมในการให้บริการลูกค้าชาวต่างชาติ (3) พนักงานสปาและนวดไทยมีปัญหาในการใช้คำศัพท์กายวิภาคศาสตร์ และ (4) เสนอให้หลักสูตรการนวดไทยควรมุ่งเน้นฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
4) ผู้รับบริการนวด (Treatment receivers) ผู้วิจัยเลือกประเด็นปัญหา “พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการใช้บริการนวดแผนไทยวัดโพธิ์” เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้คือ (1) คุณภาพของการบริการและการต้อนรับ (2) บรรยากาศภายในสถานที่ให้บริการ (3) การรักษาความสะอาดและสุขอนามัย (4) คุณภาพของการนวดแผนไทย และ (5) ความพึงพอใจในการใช้บริการ
The purposes of this research were to 1) analyze Thai massage knowledge in four regions of Thailand, and 2) carry out empirical study by synthesizing Thai massage knowledge, massage techniques, massage therapists, and massage clients. The researcher collected the secondary data regarding Thai massage knowledge from documents, textbooks and related previous studies from 2003 to 2013 as well as conducted content analysis by using four criteria: Gist, Similarities, Categories and Needs.
The results of research purpose 1 were as follows:
1) Thai Massage Knowledge: The local massage therapists in four regions all took clients’ medical history and prescribed either single herbs or herbal recipes. The Southern local massage therapists had different treatment that was called “Nora Yiebsen” whereas the Northern local massage therapists used a hammer and tapping line that was called “Lanna Tapping Line or Hammer Massage”.
2) Massage techniques: It was found that the Royal Thai Massage therapists mainly used fingers to massage with gentle techniques whereas the General Massage therapists in all regions normally used bending, stretching, squeezing, and back walking techniques.
3) Massage therapists: It was evident that the massage therapists should have fundamental knowledge in traditional Thai medicine, herbs, primary health care, traditional Thai medicine, mental health, medication, first aid, massage therapy legislation, Thai massage, Anatomy for Thai massage, ten primary energy lines (paths), Healing Arts Practices Act B.E. 2542, and Thai national health system.
4) Massage clients: It was evident that the factors which affected the clients’ service selection, satisfaction, and consumption behavior were sanitation of massage centers and spas, service charge, service hours.
The results of research purpose 2 were as follows:
1) Thai Massage Knowledge: The researcher selected the issue on “Oil massage therapy for bone disease treatment at Wat Nam Won” for the empirical data which were stated as (1) the illness diagnosis, there was patients’ medical history taking for the information, (2) the treatment, (3) the herbal treatment which were used, and (4) the belief and regulations of massage therapists.
2) Massage techniques: The researcher selected the issue on “Thai massage for tension headache relief” for the empirical data which were generated as traditional Thai medical assistants used the techniques of the Royal Thai Massage and the General Massage. They transferred knowledge to the trainees by instructing, giving advice, explaining, demonstrating, using textbooks and VCD.
3) Massage therapists: The researcher selected the issue on “English for professional purposes and English in daily life for Thai massage therapists” to obtain such the empirical data as(1) used English in daily life for greetings and professional purposes while giving massage and spa service to foreign clients, (2) used standard phrases and sentences of English
for hotels with foreign clients, (3) the problem of using anatomy vocabulary, and (4) more practice for massage staffs in English courses so that the staffs would be able to receive more international clients.
4) Massage clients: The researcher selected the issue on “Foreign clients’ behavior toward Wat Pho traditional Thai massage service use” and the empirical data were described as (1) the service quality and hospitality, (2) the atmosphere, (3) the cleanliness and sanitation, (4) the quality of Thai massage, and (5) the overall satisfaction.