ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้ระบบโต้ตอบในชั้นเรียนผ่านเว็บไซต์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย (The student’s perception on a class room response system through websites in faculty of Nursing Chiangrai college)

Main Article Content

รัญชนา หน่อคำ (Ranchana Nokham)
จุฑามาศ กิติศรี (Chuthamat Kitisri)
ญาณวุฒิ ไชยโย (Yanawut Chaiyo)

Abstract

                ผู้เรียนรุ่นใหม่เป็นรุ่นเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งจะเรียนได้ดีเมื่อมีส่วนร่วมและรู้สึกสนุกกับการเรียนที่มี การโต้ตอบผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนการสอนให้เข้ากับยุคสมัย Kahoot, Quizziz และ Google Forms เป็นระบบโต้ตอบในชั้นเรียนผ่านเว็บไซต์ที่สามารถสร้างเกมส์ตอบคำถามออนไลน์ฟรี สามารถใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการใช้ระบบโต้ตอบในชั้นเรียนผ่านเว็บไซต์ Kahoot, Quizziz และ Google Forms ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย จำนวน 121 คน ในวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการสอน และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้ระบบโต้ตอบผ่านเว็บไซต์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ ANOVA ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ใช้ Kahoot, Quizziz และ Google Forms มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดในด้านความสนใจและความตั้งใจเรียน การมีส่วน ร่วมในชั้นเรียน ความสนุกกับการเรียน การทำให้เกิดการเรียนรู้ การส่งเสริมกระบวนการคิดและแก้ปัญหา ด้วยตนเอง และความคิดเห็นของนักศึกษาด้านความพึงพอใจของการใช้ Kahoot, Quizziz และ Google Forms แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษามีความคิดเห็นด้านความพึงพอใจต่อการใช้ Kahoot มากที่สุด เทคโนโลยีดังกล่าวจึงช่วยส่งเสริมการเรียนแบบเชิงรุกและทำให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


 


                The new generation of learners is a net generation, which studies well via mobile phones as well as boosts the student engagement and enjoys. Teachers have to change their teaching to the generation. Kahoot, Quizziz and Google Forms are a class room response that can create free online quizzes and use through mobile phones. The purpose of this research was to study’s perception of students on a class room response; Kahoot, Quizziz and Google Forms in the gerontological nursing course of 2016 academic year for 121 nursing student’s Chiang Rai College. The instruments used in the research were lesson plans and              a questionnaire of student’s perception on a class room response. The data were analyzed by using mean, standard deviation and ANOVA test. The results of this research revealed that student’s perception on Kahoot, Quizziz and Google Forms were in high and highest level of concentration, engagement, enjoyment, perceived learning and encouraged thinking and solving. The student’s perception in a satisfaction on Kahoot, Quizziz and Google Forms were statistically significant difference at .05 by student satisfy on kahoot was in the highest level. Thereby, Kahoot, Quizziz and Google Forms promote active learning and make teaching more effective.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts