The art of contemporary Jok textiles: The integration between craft and creative design” ศิลปะการออกแบบผ้าจกร่วมสมัย“การผสมผสานระหว่างหัตถศิลป์และการออกแบบสร้างสรรค์”
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลด้านการออกแบบและทดลองสร้างชิ้นงานจริงออกมาเชิงประจักษ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การดำเนินการสานต่อและสร้างสรรค์ศิลปะการออกแบบ ผ้าจกผ่านมุมมองใหม่ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างหัตถศิลป์และการออกแบบสร้างสรรค์ที่สื่อภาษาร่วมสมัยมีการผสมผสานแนวคิดการออกแบบผ่านรูปทรงทางศิลปะภายใต้แรงบันดาลใจจาก“The beauty of Imperfection and the Flow” การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติผสมผสานกับการวิจัยประยุกต์ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล คือ การจดบันทึก, การบันทึกเสียง, การสัมภาษณ์, การสังเกตการณ์, การถ่ายภาพ, การถ่ายวีดิโอ และจัดทำแบบสอบถาม เพื่อหาข้อมูลเชิงความหมายของ “ศิลปะผ้าจกร่วมสมัย”
ความเจริญทางเทคโนโลยี ค่านิยมทางสังคม และสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันส่งผลให้ศิลปะผ้าจกซึ่งเป็นมรดกทางหัตถศิลป์อันล้ำค่าของชาวไทยวน ค่อย ๆ ลดบทบาทหน้าที่ลงจากวัตถุประสงค์ หลักดั้งเดิมที่ทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนและพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการทอผ้าเพื่อสร้างรายได้เสริมในครัว เรือน ดังเช่น โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นนโยบายจากภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน โดยการพัฒนางานผ้าทอมือในระดับครัวเรือนขยายสู่การผลิตเชิงพานิชย์แต่จากข้อ จำกัดหลาย ๆ ด้าน เช่น การขาดแคลนช่างทอผ้าฝีมือดี ข้อจำกัดด้านวัสดุอุปกรณ์ในการทอผ้า และความไม่เข้าใจในอัตลักษณ์ทำให้ผ้าทอพื้นเมืองในปัจจุบันนั้นขาดเอกลักษณ์ และขณะเดียวกันยังละเลยในราย ละเอียด และขาดความประณีต ทำให้คุณค่าทางสุนทรียะในงานหัตถศิลป์ยังลดน้อยลงอีกด้วย สมมุติฐานของการวิจัยนี้ คือ การนำเสนอแนวคิดใหม่ในการออกแบบผ้าจกร่วมสมัย และการสร้าง- สรรค์รูปลักษณ์ใหม่ของศิลปะการออกแบบสิ่งทอให้เกิดการยอมรับในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนการแสดงออกซึ่งภาพลักษณ์ใหม่ของศิลปะผ้าจกร่วมสมัยที่แสดงความเป็นสากล และสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกโลกาภิวัฒน์ ซึ่งผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านอกจากการปฏิวัติแนวคิดในการออกแบบผ้าจกใหม่แล้วอุปกรณ์การทอผ้า หรือ “กี่” แนวตั้งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่นั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์โครงสร้างผ้าทอแบบใหม่ ๆ ขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในกลุ่มคนสร้างสรรค์ที่ตระหนักถึงคุณค่าทางศิลปะ เช่น นักออกแบบตกแต่งภายใน และนักสะสมงานศิลปะร่วมสมัย และอีกทั้งเป็นการจุดประกายหรือเป็นแรงบันดาลใจในการต่อยอดทางความคิดในการออกแบบงานในลักษณะอื่น ๆ ต่อไป
คำสำคัญ 1. ผ้าจกร่วมสมัย 2.ไท-ยวน 3. การวิจัยเชิงปฏิบัติ 4. อัตลักษณ์ 5. กี่ทอผ้าแนวตั้ง
This article was published in English for oral presentation and proceeding of Art & Design International conference 2012 at Concord Hotel, Shah Alam, Selangor, Malaysia. However, it was edited and elaborated in contents, figures, analysid for Veridian E-Journal. ** A Student of Doctor of Philosophy Program in Design Arts (International Program) , Silpakorn University. Tel: 089- 7997525 E-mail: witawanc@gmail.com,
Abstract
This study was undertaken by means of data synthesis and empirical experiment. The main objective of this study is to sustain and create Jok textile art through new perspectives that represent a relationship between traditional crafts and contemporary design. This study is a combination of unconventional concepts and Art form inspired by “The beauty of Imperfection and the Flow”.
This study is a Practice based Research combined with Applied Research. In this study, note taking, tape recording, interviewing, observing, photographing, video recording and questionnaire surveying were applied to primarily identify the concept of “Contemporary Jok Textile”.
Nowadays, Technological advancements, social value and economic change impacts on Jok textile regarded as invaluable heritage of Tai Yuan. That is, the role of Jok textile is continually decreasing. In the past, people wove Jok textile for household and religious uses. Recently, in contrast, the purpose of weaving Jok textile has shifted from weaving for domestic use to weaving for sale. For instance, the government established a One Tambon One Product (OTOP) Project to commercially develop Jok textile weaving, enabling people to gain more income. However, the development cannot reach to the fullest because it is encountering several shortcomings such as a lack of professional weavers, a lack of various materials and weaving equipment and a lack of comprehensive understanding on its own identity. These result in not be able to make local textiles unique and decreasing their aesthetic values.
The hypotheses of this study were to present new perspectives of contemporary Jok textile design, to create new Jok motifs and promulgate them to the public and to present new image of contemporary Jok textile which is more international and suitable for current trends. The findings of the study revealed that the alternative weaving tool or the “Vertical Floor Loom” invented by the researcher was the significant factor which enabled weavers to create new and attractive woven textile structures. The researcher believes that this research study will be useful for creative people who place great importance on the value of art work such as artists, interior designers and contemporary art collectors and be great inspiration for the development of Jok textile in the future.
Keywords 1. contemporary Jok textile 2. Tai Yuan 3. Practice based research 4. Identity 5. Vertical floor loom