รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2* The model of teachers’ competency development in learning management for primary schools in KamphaengPhet primary educational service are

Main Article Content

Miss nuntaka warinin

Abstract

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2*

The model of teachers’ competency development in learning management

for primary schools in KamphaengPhet primary educational service area office 2.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู   2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบและประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2 จำนวน 322 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน และครูโรงเรียนอนุบาลทรายทอง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  คู่มือการดำเนินการตามรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา                      

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1) สภาพปัจจุบันครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยรวมระดับปานกลาง  มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการในการพัฒนาระดับมาก  2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้านคือ การสร้างและพัฒนาหลักสูตร ความสามารถในเนื้อหาสาระที่สอน การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การใช้และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ  และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  หลักการของรูปแบบ มี      4 หลักการ คือ  1. สนองความต้องการของผู้รับการพัฒนา  2. การยืดหยุ่นของกระบวนการและวิธีการ       3. การมีส่วนร่วมของผู้รับการพัฒนา  4. ความแตกต่างระหว่างบุคคล กระบวนการพัฒนา มี 5 ขั้นตอน คือ  1. การสร้างความต้องการในการพัฒนา  2. การวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนา  3.การออกแบบและวางแผนการพัฒนา  4. การดำเนินการตามแผนพัฒนา  5. การประเมินผลการพัฒนา  3) หลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ ระดับมากที่สุด

 

Abstract

This research aimed to observe: the current circumstance, problem, and the demand of teachers’ competency development in learning management, to create the model pattern of teacher’s competency development in learning management for primary schools in KamphaengPhet primary educational service area office 2, and to try out this model pattern and assess its efficiency. The research process was typically based on research and development by using three groups of sample which included 322 school directors and teachers responded under KamphaengPhet primary educational service area office 2, 15 experts in a focus group discussion, and 15 teachers of Anubansaithong School. The data was collected by using questionnaires to observe the current circumstance, problem, and the demand of teacher’s competency development in learning management.  Also, the memorandum of the focus group discussion, the model’s guideline, and the questionnaire of satisfaction were applied to conduct the data.  The quantitative data analysis was then preceded by statistic, mean and standard deviation whereas the qualitative data was analyzed by using a content analysis.

The result of the research were as follows:

It was found that teachers’ competency in learning management in general was in the moderate level, the problem of competency’s management and the demand of development were in the extremely high level.

The created model pattern of teacher’s competency development in learning management consists of three main parts. First, the competency in learning management which consist of: the course’s invention and development, the efficiency of instruction’s content, the learning arrangement emphasizing on students, the usage and development of information technology, the assessment and evaluation of learning outcomes. Second, the model principles are as following: the development principle must reach the need of the participants and conform to school policy, the flexibility principle of the procedure, the participation principle of the participants, and the difference of individual.  Third, there are five steps of development procedure.

The first step is to make the demand of development. The second step is analyzing demand of competency development. The third step is the development and plan design. The fourth step is the execution following the development plan. Then the fifth step is to evaluate the developmental result.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Miss nuntaka warinin

Directors Nongphai School

KamphaengPhet primary educational service area office 2