การยอมรับระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลผ่านทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงาน โรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศไทย (Acceptance toward Electronic Human Resource Management System of the Five Stars Hotels’ Staffs in Thailand)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการนำระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ผ่านทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในโรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศไทย และ เพื่อพัฒนาแบบจำลองเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ผ่านทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในโรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศไทย ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ คือพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ของโรงแรมระดับ 5 ดาวในประเทศไทยจำนวน 259 แห่งซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 400 คน ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stages sampling) ประกอบด้วย การสุ่มอย่างมีสัดส่วน (Proportional sampling) การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) และ การสุ่มตามสะดวก (Convenient sampling) ในการสุ่มเลือกตัวอย่าง เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำมาประมวลและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติดังนี้คือ (1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย(mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) (2) สถิติอ้างอิง (Inferential statistic) ได้แก่ สถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)
ผลการวิเคราะห์พบว่า โมเดลของการวิจัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีดัชนีความสอดคล้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้แก่ Chi-square=68.54 , df=59, P-value = 0.18519, GFI =0.98, AGFI=0.95, RMR=0.025, RMSEA =0.020 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม ปัจจัยภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการรับรู้ผลลัพธ์การใช้นวัตกรรม ปัจจัยภายในองค์กรมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทัศนคติในการยอมรับนวัตกรรม และมีอิทธิพลทางอ้อมทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้นวัตกรรม การรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรมส่งผลทางตรงเชิงบวก ต่อทัศนคติในการยอมรับนวัตกรรม และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้นวัตกรรม การรับรู้ผลลัพธ์ในการใช้นวัตกรรม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อทัศนคติในการยอมรับนวัตกรรม และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้นวัตกรรม ทัศนคติในการยอมรับนวัตกรรมส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้นวัตกรรม
This research is a quantitative research which aims to study factors influencing the acceptance toward e-HRM of the Five Stars Hotel’ Staff in Thailand. As well as to develop a causal relationship model of the acceptance toward e-HRM of the Five Stars Hotel’ Staff in Thailand. The population of this research are the human resource’ staff of the 259 five stars hotels in Thailand. The sample size is 400. The researcher used multi-stages sampling, including, proportional sampling, simple random sampling and convenient sampling in sampling procedures. The research instrument are the questionnaires. The data was collected through emails and analyzed by statistical computer program, using statistics, such as, (1) descriptive statistics, including, frequency, percentage, mean, standard deviation (2) Confirmatory factor analysis and (3) Path analysis. The finding revealed that the research model was consistent with the empirical data. With the goodness of fit index that passed the fitness criterion, such as, Chi-square=68.54 , df=59, P-value = 0.18519, GFI =0.98, AGFI=0.95, RMR=0.025, RMSEA =0.020. The result of hypotheses test revealed that internal factor had a direct positive influence on perceived innovation’s attribution. Internal factor had a direct positive influence on perceived innovation’s outcome. Internal factors had a direct positive influence on attitude toward innovation acceptance and had an indirect positive influence on intention to use innovation. Attitude toward innovation acceptance had a direct positive influence on intention to use innovation.