การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่* The development of the educational quality management model for the small foundation school in Chiang Mai province

Main Article Content

Noppon Detchit
Noppon Detchit

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อจัดทำรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เขต 5 และเขต 6 จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เขต 5 และเขต 6 จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1.  รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ มีองค์ประกอบ 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารทั่วไป

2.  ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ามีการดำเนินงานตามองค์ประกอบของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาแต่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างแท้จริงเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับ           การจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ การสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการออกจากราชการอยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุดเช่นเดียวกับด้านการบริหารงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน  การเบิกเงินจากคลัง ซึ่งอยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุดเช่นกัน

3. รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ คือ “TEN SMALL PIN VIEW Model” ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

3.1 ด้านวิชาการ

3.1.1 ให้นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน หรือให้นักเรียนรุ่นพี่สอนนักเรียนรุ่นน้อง (Student : S)

3.1.2 สอนวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทยในช่วงเช้า (Main Course: M)

3.1.3 สอนกิจกรรมพิเศษในช่วงบ่ายโดยใช้วิทยากรท้องถิ่น ผู้ปกครอง นักการภารโรง (Extra Activities: A)

3.1.4 นักเรียนใช้ชุดการเรียน (Learning Package: L)

3.1.5 ครูใช้ชุดการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Module: I)

3.1.6 ครูใช้ชุดการสอน (Instructional Package)

3.1.7 สอนการศึกษาผู้ใหญ่ให้กับคนในชุมชน (Non-Formal Education: N)

3.1.8 สอนอาชีพให้กับคนในชุมชนโดยประสานงานกับวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา และวิทยาลัยสารพัดช่าง (Vocational Education: V)

3.2 ด้านงบประมาณ

3.2.1 มีงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน (Equal Budgeting: E)

3.3 ด้านบุคลากร

3.3.1 เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการสอน และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู (Parent)

3.3.2 เชิญวิทยากรท้องถิ่นร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู (Local Expert: L)

3.3.3 ให้นักการภารโรงมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น สอนกีฬา ดนตรีพื้นเมือง อาชีพในท้องถิ่น (Maintenance Worker: W)

3.4 ด้านการบริหารทั่วไป

3.4.1 สร้างเครือข่ายโรงเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง (Network : N)

3.4.2 ใช้เทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Technology : T)

3.4.3 จัดระบบงานธุรการแบบ E-office

ABSTACT

The purposes of this research were to study the state of the administration of the small foundation school in Chiang Mai Province, and to develop the educational quality management model for the small foundation school in Chiang Mai Province. The samples were 3 directors of the office of Chiang Mai primary educational service area 1, 5 and 6, 3 supervisors of Chiang Mai primary educational service area 1, 5 and 6, and 15 foundation school administrators. Gathering of data was by in-depth interview, and using questionnaires. Analyzing of data was by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, median, inter-quartile range, content analysis, and content synthesis. The results of this research were as follows:

1. The administration model for the small foundation school composed of                   1) academic aspect 2) budgeting aspect 3) personnel administration aspect, and                    4) general administration aspect.

2. The most of opinion of the experts toward the state of the small foundation school administration were weak.

3. The administration model for the small foundation school in Chiang Mai was TEN SMALL PIN VIEW Model which are composed of 1) student: S 2) Main Course: M  3) Extra Activities: A 4) Learning Package: L 5) Integrated Module: I  6) Instructional Package: I 7) Non-Formal Education: N 8) Vocational Education: V 9) Equal Budgeting: E 10) Parent: P 11) Local Expert: L  12) Maintenance Worker: W 13) Network: N 14) Technology: T 15) E-office : E

 

Keywords: development, educational quality management model, small foundation school

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ