ระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ (Effective academic administration system for the Police Training Center)

Main Article Content

พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์ (Pongpitsanu Pakdeenarong)
บุญมี เณรยอด (Boonmee Nenyod)

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติและระดับประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการ และพัฒนาระบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลสำหรับศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกรอบแนวคิดได้จากการใช้ทฤษฎีระบบของ Lunenburg and Ornstein กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล การสัมมนาผู้เกี่ยวข้อง และการรายงานผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถ แบบวัดจิตสำนึก และแบบสอบถาม จากนักเรียนนายสิบตำรวจ จำนวน 366 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


                    ผลการวิจัย พบว่า แต่ละศูนย์ฝึกอบรมตำรวจใช้หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจและตำราเดียวกัน สภาพการปฏิบัติด้านผู้บริหาร ด้านผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพประสิทธิผลของศูนย์ฝึกอบรม ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านความสามารถและด้านจิตสำนึกอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการมากที่สุด คือ ผู้บริหาร รองลงมา ได้แก่ผู้สอน สภาพแวดล้อม และวัสดุอุปกรณ์ตามลำดับ จากนั้นพิจารณาค่าเฉลี่ยแต่ละปัจจัยมาพัฒนาเป็นระบบการบริหารงานวิชาการ


 


              This research aimed to study the current practice and effectiveness of academic administration system, study factors affecting the effectiveness of academic administration system, and develop effective academic administration system for police training center of Royal Thai Police which conceptual framework developed from Lunenburg and Ornstein system theory application. The research process was divided into 8 steps: document analysis, the seminar of experts to validate research framework, constructing and validating quality tools, data gathering, data analysis, summary of data analysis, expert’s seminars to validate research results, and reporting. Data were collected from 366 police trainees using test, competency evaluation form, consciousness evaluation form, and questionnaire. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and Pearson Product moment correlation Coefficient.


               The results found that all police training centers used the same curriculum and textbook. The current practice of executives, instructors, environment, and materials showed mean scores at high level. The effectiveness of training centers in knowledge was at medium level whereas in competency and consciousness were at high level. The results for factors affecting the effectiveness of academic administration indicated that executives showed high effect level followed by instructors, environment, and materials respectively. Mean scores from each factor were considered for developing the effectiveness of academic administration system.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts