การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ /The Development of Integrated Instruction for the Courses in the Social Studies, Undergraduate Level, in Enhancing the Student-Centered Instruction.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ศึกษาผลที่เกิดจากการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ซึ่งลงทะเบียนเรียนรายวิชา 234317 การศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม และรายวิชา 234218 ระเบียบวิธีวิทยาทางสังคมวิทยาสำหรับผู้สอน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนแบบบูรณาการ 2 รายวิชา 2) หลักสูตรอบรมค่ายวิชาการเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 3) แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดำเนินกระบวนการวิจัยแบบ Deming Cycle (วงจร P – D – C – A) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสรุปผลได้ดังนี้
การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีลักษณะเป็นการบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline) และดำเนินกระบวนการวิจัยแบบ Deming Cycle มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) โดยผู้สอนใน 2 รายวิชาร่วมกันกำหนดหัวข้อ ความคิด รวบยอด เนื้อหา ปัญหา และเกณฑ์การตัดสิน จัดทำแผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ขั้นที่ 2 การลงมือทำ (Do) โดยพัฒนาแผนและกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ นำไปทดลองใช้จัดการเรียนการสอน ขั้นที่ 3
การตรวจสอบ (Check) ทำการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อหาแนวทางปรับปรุงและพัฒนา ขั้นที่ 4 การปฏิบัติ (Action) ผู้สอนร่วมกันพิจารณาข้อบกพร่องที่ได้จากการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไขและวางแผนในการดำเนินการในครั้งต่อไป
2. ผลที่เกิดจากการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า นักศึกษามีความรู้อยู่ในระดับมาก ด้านทักษะกระบวนการในการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนทักษะกระบวนการในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับมาก และด้านเจตคตินักศึกษามีความรับผิดชอบอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก
3.ความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับมากที่สุด
Abstract
The objectives of this research were : 1) to develop the Integrated Instruction for the Courses in the Social Studies, Undergraduate Level, enhancing the student-centered, 2) to study the effects of the instruction for the Courses in the Social Studies, Undergraduate Level, enhancing the student-centered and 3) to study the opinions of social studies Students concerning Integrated Instruction for the Courses in the Social Studies, Undergraduate Level, in enhancing the student-centered instruction. The population of this research were 31 Second Year Undergraduate Students enrolled in 234 317 Education for Environmental Development, and 234 218 Sociology Methodology for Teacher. The instruments using for action, were : 1) Lesson Plan by using the Integrated Instruction for 2 Courses, 2) the Academic Training Program for Environmental Development in School and 3) the Instructional Activity Evaluation Form and 4) the student’s opinions Questionnaire concerning the management of the Integrated Instruction. The process implemented in research included the Deming Cycle or P-D-C-A Cycle. For Quantitative Data Analysis, the Mean, Percentage, Standard Deviation were calculated. For Qualitative Data Analysis, the Descriptive Analysis was administered. The research findings found that :
1. The Development of Integrated Instruction for the Courses in the Social Studies, Undergraduate Level, in Enhancing the Student-Centered Instruction concluded as follow :
For the Instructional Development, it was the integration as Multidiscipline Instruction. The four steps Deming Cycle was used in the research process. The first step was the “PLAN”. In this step the Instructors of 2 Courses determined the topics, concepts, content, problem and criteria together. The second step was the “DO” by developing of the Plan and instructional Activity and then trying out. The third step was the “CHECK” by Assessment of the facilitating Instruction to find the problems and then improved and developed it again. The forth step was the “Action”. In this step the instructors considered the disadvantages and then improved and plan for the next action.
2. According to the teaching findings found that the students obtained knowledge in “the High” level. They had process skill concerning Curriculum and the Academic Training Program in the “Highest” level. They had process skill concerning Project Preparation as well as attitude concerning responsibility in the “High” level. And they had attitude concerning Nature Conservation in the “Highest” level.
3. They had opinion on the Integrated Instruction in Social Studies, the Undergraduate Level, in enhancing the student-centered instruction, in “the Highest” level.