การวิจัยประเมินผลโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การติดตามและประเมินผลตามแนวแผนที่ผลลัพธ์ ตามแนวคิดและรูปแบบการประเมินของเคอร์ก แพตทริค/An Evaluation of the Workshop Project on Monitoring and Evaluation of Outcome Mapping by Kirkpatrick’s Concept
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพึงพอใจของแกนนำที่เข้ารับอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) ประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินโครงการตามแนวแผนที่ผลลัพธ์ของแกนนำที่เข้ารับการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 3) ประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของแกนนำในการดำเนินโครงการโดยสมาชิกในกลุ่มการทำงานของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ประเมิน และ 4) ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแกนนำในการดำเนินโครงการโดยสมาชิกในกลุ่มการทำงานของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ประเมิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าคอย อำเภอท่ายาง ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน และตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย แกนนำการพัฒนาตำบลสุขภาวะที่เข้ารับการอบรม จำนวน 26 คน และบุคคลใกล้เคียงแกนนำที่เข้ารับการอบรม ได้แก่ สมาชิกของกลุ่มต่างๆ จำนวน 69 คน รวมจำนวน 95 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม สัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การประเมินความพึงพอใจของแกนนำที่เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายหลังการฝึกอบรมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สถานที่พัก รองลงมาคือ สถานที่ใช้ในการอบรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การประชาสัมพันธ์การอบรม 2) ความรู้ ความเข้าใจของแกนนำเกี่ยวกับการประเมินโครงการตามแนวแผนที่ผลลัพธ์ แกนนำที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนการอบรมเพียงเล็กน้อย 3) พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของแกนนำในการดำเนินโครงการ แกนนำที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 4) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแกนนำที่เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับน้อย
ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ การประเมินโครงการที่มีการใช้แนวคิดใหม่ที่ไม่คุ้นเคย ผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความใส่ใจและความสำคัญในทุกขั้นตอนเพื่อให้โครงการนั้นสำเร็จลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Abstract
The objectives of this research were to evaluate: 1) satisfaction of the mainstays attending the workshop project, 2) knowledge and understanding on project evaluation using outcome mapping approach of the mainstays attending the workshop, 3) change on behavior in project operation of the mainstays attending the workshop, and 4) outcome resulting from the change on behavior in project operation of the mainstays attending the workshop. The research population were 95 people in Thakoi Subdistict, Tha Yang District, Kaeng Krachan Subdistrict, Kaeng Krachan District, and Raimaipattana Subdistrict , Cha-am District, Phetchaburi Province, consisting of 26 mainstays of Well-being Subdistrict Development Integration Project attending the workshop and 69 members of various groups in 3 subdistricts as a group of people close to the mainstays. The data were collected by using a questionnaire and informal interview, and analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research results were as follows: 1) The satisfaction of the mainstays attending the workshop was at a high level in overall and in every aspect. The aspect with the highest mean was accommodation for staying overnight, and the workshop room was ranked as the second order, whereas the workshop advertisement was the aspect with the lowest mean. 2) The knowledge and understanding on project evaluation using outcome mapping concept of the mainstays after attending the workshop was just a little higher that that existing before attending the workshop. 3) The change on behavior in project operation of the mainstays attending the workshop was overall at a low level. 4) The outcome resulting from the change on behavior of the mainstays attending the workshop was overall at a low level.
The research finding was that the persons involving in project evaluation using new and unfamiliar concept should pay attention to and realize the importance of every step of evaluation so that the project would be finished efficiently and effectively.