เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขาย ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
Abstract
เจตคติของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และการผลิตแบบมีสัญญาซื้อขาย ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Farmers’ attitudes toward the Good Agricultural Practice and contract farming for Manaifera indica Linn. in Kuiburi District Prachuap Khiri Khan Province
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 4 ประการ คือ 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) เจตคติของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม และปัญหาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม 3) การรับรู้เรื่องการทำพันธะสัญญาซื้อขาย และ 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของเกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ในอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 ราย ได้จากสูตรคำนวณขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ ที่ = 0.05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยสรุปคือ 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.36 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แรงงานที่ใช้เป็นแรงงานในครัวเรือน เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเอง มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 13.62 ไร่ต่อครัวเรือน ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เฉลี่ย 844.79 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 9,100 บาทต่อไร่ต่อปี ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิต และมีรายได้เฉลี่ยของเกษตรกร 315,302 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีเจตคติที่ดีมากต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ในการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ และมีปัญหาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติเนื่องจากมีความยุ่งยาก และขาดแคลนแรงงาน 3) เกษตรกรรับรู้เรื่องการทำพันธะสัญญาซื้อขาย ร้อยละ 28.40 ซึ่งได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ/หน่วยงานราชการ และเหตุผลที่เกษตรกรให้ความสำคัญในการตัดสินใจทำพันธะสัญญาซื้อขายอยู่ในระดับสำคัญมาก ได้แก่ ราคาดี ได้เงินเร็ว ขายผลผลิตได้แน่นอน มีเงินทุนและปันผล รับซื้อผลผลิตตกเกรด ข้อตกลงดี ไม่เอาเปรียบทางการค้า การขนส่งสะดวก และได้รับข้อมูลข่าวสารรวดเร็ว 4) ปัจจัยที่มีผลต่อเจตคติของ เกษตรกรที่มีต่อมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ต้นทุนการผลิต และขนาดของพื้นที่ปลูก
คำสำคัญ : เจตคติ มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เกษตรดีที่เหมาะสม เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วง พันธะสัญญาซื้อขาย
Abstract
The objective of this research were to analyze the 1) Economic and social conditions of farmer who grow mango, 2) to analyze farmer’s attitude towards the Good Agricultural Practice (GAP) and using the Good Agricultural Practice (GAP) in producing mangoes, 3) to analyze the farmer’s perception in contract farming 4) to analyze factors that affecting farmer’s attitude who grow mango about Good Agricultural Practice (GAP) and the producing of who grow mangoes. This study employed the survey method in collecting data by using a structural questionnaire. The populations were the farmers who grow mangoes. The sample size were 162 unit selected by using Systematic Random Sampling technique. Data were analyzed by using frequencies, percentage, mean, standard deviation and Chi-square (X2).
The results of the research were concluded as follows: 1) Most of the farmers are male with the average age of 51.36 years, level of education were elementary school level. The family labor were used in producing mangoes. The farmers have their own land for growing mangoes with the average of 13.62 rai per farm. The mango average production was about 844.79 kilograms per rai with the average production cost of 9,100 bath per rai. They were depending on their own capital for the production. Their average incomes were 315,302 bath per year. 2) Farmers’ attitude toward Good Agricultural Practice (GAP) in producing mango were in highest level. The farmers’ problems were lacking of knowledge on practicing of Good Agricultural Practice (GAP), the application of Good Agricultural Practice (GAP) were complicated and lacking of labors. 3) The number of farmers who recognized contract farming were 28.40 percent and received information from Agricultural extension officers. The reason; for decision making on signing contract were as follow :contract farming would yield a high price and quickly payment, with capital provided and had dividend. Under grade products also sold out with a good deal, convenient transportation, and received information quickly 4 ) factors that affected farmers of attitudes were age, education, income , production cost and size of the area planted.
Keyword : Attitude, Manaifera indica Linn., Good Agriculture Practices, Good Agriculture Practices in mango production, Contract farming.