การเปรียบเทียบปัจจัยทางกายภาพบนเส้นทางวิ่งและปั่นจักรยาน บริเวณด้านหน้าสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี (The Physical factors comparison on running route and bicycle track around 700th Anniversary Chiangmai Stadium)

Main Article Content

ธนพร พันธุ์นรา (Tanaporn Pannara)
กรุณา รักษวิณ (Karuna Raksawin)

Abstract

              เส้นทางเดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ตัวอย่างเป็นหนึ่งในรูปแบบพื้นที่สาธารณะสร้างประโยชน์ต่อประชากรในด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย จิตใจ และเป็นการวางแผนเพื่อทำให้เกิดการใช้พื้นที่ภายนอกอาคารเพิ่มขึ้น การพัฒนาเส้นทางนี้อาจจะมีการรวบรวมการเชื่อมต่อในหลากหลายมิติออกมาในรูปแบบเส้นทางได้ เช่น การคำนึงถึงมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาเส้นทางต้องมีความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้เส้นทาง เพื่อนำไปสู่การจัดการวางผังการใช้ปัจจัยทางกายภาพของเส้นทางที่ประกอบไปด้วยเรื่องสภาพแวดล้อมเส้นทาง พืชพรรณ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยและความสวยงามการดูแลรักษาเส้นทาง โดยในงานวิจัยฉบับนี้ได้เลือกพื้นที่บริเวณเส้นทางนันทนาการบริเวณศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่-ห้วยตึงเฒ่า จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกาย


               เมื่อได้เก็บข้อมูลแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ใช้เส้นทาง 400 คน ปรากฏว่ามีจำนวนกลุ่มผู้ใช้เส้นทางที่มีวัตถุประสงค์อื่นๆ ได้แก่ การพักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางคมนาคม การท่องเที่ยว ที่อยู่นอกเหนือจากการออกกำลังกายซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการก่อสร้างเส้นทาง สามารถวิเคราะห์ความต้องการทางด้านปัจจัยในการพัฒนาเส้นทางของกลุ่มผู้ใช้เส้นทางทั้ง 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การพัฒนาเส้นทางในอนาคตควรคำนึงถึงมิติอื่นๆที่ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ได้แก่ มิติเรื่องเส้นทาง พืชพรรณ สิ่งอำนวยความสะดวกในเส้นทาง ความปลอดภัยของเส้นทาง และความสวยงามของสภาพแวดล้อม การออกแบบ การดูแลเส้นทาง


 


               The walking, running route and bicycle track are one of the public space which benefit people by improve the quality of life physically and mentally. It is also a plan to enhance the use of outside space. The development of this route may include the integration of various dimensions in the path for instance, the consideration in social, economic, cultural, education and tourism dimensions. The route development should include the understanding about users in order to manage the physical factors which include the route surroundings, florae, utilities, safety, beauty and maintenance. This research focus on the recreation route around Chiang Mai International Exhibition and Convention Centre – Huay Tueng Tao in Chiang Mai province, which the main objective is for exercise.


               After collecting data from 400 users, the results show that the users use the route for other purposes such as recreation, transportation, travel which all beyond the main purpose of the route, exercising. This can be analyzed that the need of two different types of users will make the future development of the route concerns more about multi-dimension along with exercise including dimensions of trail, florae, utility, route safety, and beauty of the environment design and maintenance.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts