อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน ทีมงาน ความมีอิสระในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ ที่มีผลต่อความผูกพันในวิชาชีพของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (Influence’s Perceived Support from Organization, Supervisor, Team and Creative Academic Performance on the Career Commitment of the RMUTP’s Lecturers)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน ทีมงาน ความมีอิสระในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความผูกพันในวิชาชีพ ของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสายวิชาการจาก 9 คณะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวนทั้งสิ้น 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่าแบบ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ทีมงาน และความมีอิสระในการทำงานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานทางวิชาการในเชิงสร้างสรรค์ และการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน ทีมงาน และความมีอิสระในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันในอาชีพของบุคลากรสายวิชาการ 2) การทดสอบความเป็นตัวแปรกลาง พบว่า ผลการปฏิบัติงานทางวิชาการในเชิงสร้างสรรค์เป็นตัวแปรกลางในความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน ทีมงาน และความมีอิสระในการทำงาน ที่มีอิทธิพลอย่างมากกับความผูกพันในวิชาชีพของบุคลากรสายวิชาการ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประกอบด้วยประโยชน์เชิงทฤษฎี พบว่า ผลการ ปฏิบัติงานทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์เป็นตัวแปรกลางที่มีอิทธิพลอย่างมากระหว่างตัวแปรการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ หัวหน้างาน ทีมงาน และความผูกพันในวิชาชีพ ส่วนประโยชน์ด้านการจัดการ พบว่า องค์การควรจัดกิจกรรมพัฒนาคุณสมบัติหัวหน้างาน และควรส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานให้บุคลากร เพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้คงอยู่และสร้างสรรค์ผลงานวิชาการที่มีประสิทธิผลที่ดีต่อไป
The aim of this research was to investigate the influence of perceived which support from organization, supervisor, team, autonomy and creative academic performance on the career commitment in the Rajamangala University of Technology Phra Nakhon (RMUPT’s)’s lecturers. The sample was a lecturer who working in nine faculties at RMUTP, totally 101 persons. A questionnaire used the Likert-type 5 Scale, the statistic was used to analyze the data including frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, simple regression analysis and multiple regression analysis. The result of this study was as follows:1) Perceived support from the organization team and job autonomy were positively correlated with creative academic performance, while perceived support from the organization, supervisor team and job autonomy were positively correlated with academic career commitment.2) Mediator variable testing found that the creative academic performance was a mediator variable in the relationship between perceived support from the organization, supervisor team and job autonomy that highly influenced an academic career commitment. The benefits of this study divided 2 dimensions like theoretical benefit was found that the creative academic performance was a mediator variable that had a great influence between perceived support from organizations, supervisors, team and professional engagement. On the other hand, the management benefit was found that the organization should organize activities to develop supervisor qualifications and should promote the creation of works for teacher. In order to making an effective of career commitment and creativity academic performance.