อิทธิพลของการมอบอำนาจด้านจิตใจ ปัจจัยเอื้อต่อการทำงานที่มีผลต่อความพอใจในงานและการตั้งใจลาออกของพนักงานบริการในธุรกิจร้านอาหาร (Influence of Psychological Empowerment Job Resource Effect to Job Satisfaction and Intention to Resign of Frontline Employees in Restaurant Business)

Main Article Content

จันทร์จิรา ฉัตราวานิช (Janjira Chattrawanit)
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (Viroj Jadesadalug)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการมอบอำนาจด้านจิตใจและปัจจัยเอื้อต่อการทำงานที่ส่งผลต่อความพอใจในงานและการตั้งใจลาออกของพนักงานผ่านประสิทธิภาพการแก้ปัญหาให้ลูกค้าของพนักงานบริการส่วนหน้าในธุรกิจร้านอาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานบริการส่วนหน้าในธุรกิจร้านอาหาร จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคุณ ใช้เทคนิควิธีนำเข้า ผลการวิจัยพบว่า การมอบอำนาจด้านจิตใจอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยเอื้อต่อการทำงาน ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า ความพอใจในงาน และความตั้งใจลาออกอยู่ในระดับมาก การมอบอำนาจด้านจิตใจและปัจจัยเอื้อต่อการทำงานมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาให้ลูกค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อความพอใจในงานและความตั้งใจลาออก ความพอใจในงานมีอิทธิพลผลทางบวกต่อความตั้งใจลาออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้นำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการเชิงนโยบายและแผนงาน การกำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย ปรับปรุงแก้ไข ทำให้พนักงานบริการส่วนหน้าในธุรกิจร้านอาหารเกิดความพอใจในการทำงานส่งผลให้พนักงานจงรักภักดีกับองค์กร ไม่มีความตั้งใจที่จะลาออกส่งผลให้องค์กรมีความมั่นคงด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อไปได้ในอนาคต


 


               The research purposes to study the factors of psychological empowerment and job Resources influencing on job satisfaction and Intention to resign through Service Recovery Performance of frontline employees in restaurant business. The samples were selected from 180 frontline employees. Questionnaires were used as a tools to collect the data. Descriptive statistics shows frequency, percentage, mean, standard deviations, and Pearson’s product movement correlation coefficient. Multiple regression analysis with forward selection procedure is also used for analysis.


               The results demonstrate the psychological empowerment is the most important factors in this study, while, the other factors show high level. Psychological empowerment and job resources have a positive effect on service recovery performances. Besides, Service Recovery Performances have a significant effect on job satisfaction and intention to resign. Job satisfaction has a positive impact on Intention to resign at the 0.05 level of significance 


            The results of this study can be used to approach company’s plans, policy, formulate strategies, goal and corrective actions in order to leverage employee’s satisfaction and create company’s loyalty with no intention to resign. The company will has human resource security In the future

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts