พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและการจัดการซากโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Mobile Phone Usage Behavior and Discarded Mobile Phone Management of Consumers Generation Y)

Main Article Content

สวรรยา ธรรมอภิพล (Sawanya Thamma-apipon)
อลิสา เจริญรูป (Alisa Charoenroop)
อารยา เกตุรวม (Araya Ketraum)

Abstract

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมการจัดการซากโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย โดยศึกษากับอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้ประกอบการร้านค้า ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ที่อยู่ในเจเนอเรชั่นวาย (เกิดพ.ศ.2523 – พ.ศ.2540) จำนวน 400 คน เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับบริบทของสถานศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอผลการศึกษาโดยการพรรณนาความ


               ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.50
สถานภาพนักศึกษา ร้อยละ 86.50 อายุ 21-26 ปี ร้อยละ 87.50 ปี การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 90.50 และสถานภาพโสด ร้อยละ 93.75 พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่มีโทรศัพท์มือถือใช้ครั้งแรกอายุ 10-15 ปี ร้อยละ 86.50 ใช้โทรศัพท์ยี่ห้อไอโฟน ร้อยละ 51.25 อายุการใช้งานเฉลี่ย 1-3 ปี/เครื่อง ร้อยละ 70.75 ข้อคำนึงในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เพราะตอบโจทย์ความต้องการ ร้อยละ 31.25 ช่วงเวลาที่ใช้ 21.01 ขึ้นไป ร้อยละ 81.00 ระยะเวลาที่ใช้ 7 ชั่วโมงขึ้นไป/วัน ร้อยละ 77.25 วัตถุประสงค์หลักในการใช้เพื่อความบันเทิงและนันทนาการ ร้อยละ 78.50 แอพพลิเคชั่นที่ใช้บ่อยที่สุดคือ เฟสบุ๊ค ร้อยละ 43.00 และระยะเวลาในการใช้ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ร้อยละ 46.25 พฤติกรรมการจัดการซากโทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่เก็บเอาไว้เฉย ๆ  ร้อยละ 66.50 โดยจะคัดแยกออกจากขยะประเภทอื่น ร้อยละ 81.00 และจัดเก็บใส่ถุงพลาสติกทั่วไปและนำไปกำจัดโดยนำไปทิ้งยังจุดวางถังของเทศบาลหรืออบต. ร้อยละ 83.25


 


                This research aims was to mobile phone usage behavior mobile phone and was to study waste management behavior, mobile phone of Consumers Generation Y. The study conducted data collection using a questionnaire mobile phone user that is during the Generation Y (Born during the year 1980-1997). In Silpakorn University Petchaburi Information Campus, divided into 4 groups, namely, teachers, personnel, students and shop operators, 400 people. Data were analyzed using statistics, percentage, mean, maximum value, minimum value, standard deviation.


               The study of general information of respondents found that most of them were female, 65.50%, with 86.50 % student status, aged between 21-26 years, 87.50%. The highest education level was 90.50% and had status Single image, 93.75%


               The behavior of the mobile phone users of the sample group found that most of them had mastered the mobile phone for the first time, aged 10-15 years, 86.50%, using the iPhone phone 51.25%. The maximum usage life is about 1-3 years, 70.75%. The consideration in making a decision to buy a phone is because it meets the most needs of 31.25%. The time spent using the phone is 21.01% and up 81.00%. The time spent using the phone is 7 hours. Up/day 77.25%. The main purpose of using phones for entertainment and recreation is 78.50%. The most frequently used applications are Facebook, 43.00% and The duration of using social networks is in the 30 minutes - 1 hour percentage. 46.25%.


               The behavior of the mobile phone carcass management of the sample group found that most of the mobile phones have been worn out or expired after being kept idle. What does 66.50% do to separate from other types of waste 81.00% By sorting and storing in general plastic bags to be disposed of by dumping it at the municipal tank or the SAO 83.25%.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts