รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ตาม Service Plan: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน (Model of Nursing Organization Development of Community Hospital That Upgraded to General Hospital According to The Service Plan : A Case Study of Sawangdandin Crown Prince Hospital) A Case Study of Sawangdandin Crown Prince Hospital
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ศักยภาพของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ในฐานะโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป 2) ศึกษาสภาวการณ์และวิเคราะห์ส่วนขาดที่จำเป็นต้องพัฒนาขององค์กรพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ในฐานะโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป และ 3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ในฐานะโรงพยาบาลชุมชนที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไป วิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีกรณีศึกษา โดยคัดเลือกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดินเป็นกรณีศึกษา พร้อมทั้งกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน 2) ทีมผู้บริหารการพยาบาลของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน 3) หัวหน้าทีมผู้บริหารการพยาบาล โรงพยาบาลสกลนคร และ 4) บุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ตัวผู้วิจัย 2) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แนวทางการสนทนากลุ่ม 4) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 5) แบบประเมินศักยภาพองค์กรพยาบาล และ 6) แบบวิเคราะห์งานบริหารการพยาบาล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ 2 วิธี คือ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจำแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษา คือ 1) ศักยภาพของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ด้านผู้นำสูงสุด และด้านการเตรียมความพร้อมด้านระบบบริการตาม Service Plan 2) สภาวการณ์และผลการวิเคราะห์ส่วนขาดที่จำเป็นต้องพัฒนาขององค์กรพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน และ 3) รูปแบบการพัฒนาองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน ประกอบด้วย (1) ระบบบริการพยาบาล (2) กำลังคนทางการพยาบาล (3) ระบบสารสนเทศทางการพยาบาล (4) เทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ (5)ระบบการเงิน และ (6) ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล
This qualitative research aimed to 1) analyze the potential of community hospital that upgraded to general hospital, 2) study the situation and essential gap that had to develop of community hospital that upgraded to general hospital, and 3) develop model of community hospital that upgraded to general hospital. Sawangdandin Crown Prince Hospital was selected to be a case study. Target groups and key-informants consisted 4 groups: 1) the director of Sawangdandin Crown Prince Hospital; 2) nursing senior leaders of Sawangdandin Crown Prince Hospital; 3) chief of Sakolnakorn Hospital’s nursing senior leaders; and 4) workforce of Sakolnakorn Provincial Health Office. Research tools were: 1) the researchers; and 2) in-depth interview guide; 3) focus group guide; 4) non-participant observation guide; 5) tool of potential assessment’s nursing organization; and 6) tool of nursing administration analysis. Method of collecting data was documentary data and field data. Triangulation method was used to improve verification. Typological analysis was employed to analyze qualitative data. The findings were : 1) two dimension of potential to be a general hospital: leadership of top management ; and preparation of Service Plan’s service system; 2) situation and essential gap that had to develop of hospital’s nursing organization; 3) model of hospital’s nursing organization development found to compose of six main elements: (1) nursing service delivery; (2) nursing workforce; (3) nursing information system; (4) medical equipment technology; (5) financing; and (6) leadership and good governance)