ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 /The Effect of Story-Telling with Role-Play on the Second Year Preschoolers, Self-confidence

Main Article Content

รสสุคนธ์ อยู่เย็น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติ และศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติตลอดการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เพศชาย และเพศหญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี  จำนวน  20  คน  ในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2555  ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรของโรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมุติจำนวน 24 แผน สำหรับการทดลอง 8 สัปดาห์ และแบบสังเกตความเชื่อมั่นในตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความกล้าแสดงออก ความรับผิดชอบ และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น หลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  2. ความเชื่อมั่นในตนเองโดยรวมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติตลอดการทดลอง  8 สัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นระดับมาก

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติ  สามารถพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่  2 ได้ ครูปฐมวัยจึงควรนำกิจกรรมนี้ไปใช้เพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กอนุบาลกลุ่มอื่นๆ ต่อไป

The purposes of the research were to compare the self-confidence of the preschoolers before and after participating in story-telling with role-play and to study their self-confidence changing levels after participating in story-telling with role-play throughout the eight week experiment. The sample were twenty male and female second year preschoolers, aged 4-5 years, simply randomized from the population of Banbofai Municipal School, under the Office of Hua-Hin Municipality, Prachuab Khiri Khan Province in the second semester of academic year 2012. Instruments used in the research were 24 story-telling with role-play lesson plans for the eight week experiment and self-confidence observation form, constructed by the researcher with the reliability of 0.70.  Statistics  used in this research were mean, standard deviation and t-test.

The findings were as follows :

1. The self-confidence of second year preschoolers overall and in each aspect, including being couragious to express, responsibility and adapting to others after participating in story-telling with role-play were higher than before at the level of 0.01.

2. The overall self-confidence of the second year preschoolers, participated in story-telling with role-play through the eight week experiment, increased directly at a high level.

The findings of the research indicated that the story-telling with role-play could develop the self-confidence of the second year preschoolers. Preschooler teachers should, therefore, implement this activity to improve the self-confidence of other preschoolers.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

รสสุคนธ์ อยู่เย็น

โรงเรียนเทศบาลบ้านบ่อฝ้าย ซอยหัวหิน6 ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110