การขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่เป็นผู้สูงอายุในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Mobilizing the Innovation of Social Welfare Management for the Informal Elderly Labors in Special Economic Zone)

Main Article Content

สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ (Somsak Amornsiriphong)

Abstract

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางสังคมจากช่องว่าง (Gap) ของการเข้าถึงสวัสดิการสังคมและความต้องการสวัสดิการสังคมของกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว และวิเคราะห์การขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดสวัสดิการสังคมด้วย “ELDERFARE Model” ผ่าน “สภากาแฟตำบลป่าไร่” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมสำหรับกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เป็นผู้สูงอายุในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยสังเคราะห์ผลการศึกษาจากงานวิจัยระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ผลการศึกษา พบว่า ช่องว่าง (Gap) ระหว่างการเข้าถึงและความต้องการสวัสดิการสังคม ทั้งก่อนและหลังการทำกิจกรรม “สภากาแฟตำบลป่าไร่” พบว่า ช่องว่างที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำมากที่สุดคือ ช่องว่างในมิติเศรษฐกิจ และการออมเป็นความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในมิติเศรษฐกิจ จะนำไปสู่ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ ตามมา ทั้งด้านกระบวนการยุติธรรม และด้านการถูกเลือกปฏิบัติและการกีดกัน ที่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพได้สะท้อนข้อมูลมาในลักษณะเดียวกัน การขับเคลื่อนรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคม ELDERFARE Model ผ่านนวัตกรรม “สภากาแฟตำบลป่าไร่” มีกิจกรรมและหน่วยงานที่หลากหลาย และทิศทางการพัฒนา “สภากาแฟตำบลป่าไร่” เพื่อความยั่งยืนต้องมีการพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้หรือโรงเรียนผู้สูงอายุและมีการพัฒนานวัตกรผู้สูงอายุเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมหลักภายใต้การอำนวยความสะดวกและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ และสามารถขยายผลในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอื่นได้ต่อไป


 


                  The Objectives of this article were to; analyze the social inequality from gaps between social welfare accessibility and need of the informal elderly labors in Sa-Kaeo Special Economic Zone and to analyze the mobilization of innovation of social welfare management with the model of “ELDERFARE Model” through “Palai Sub-district World Café” to Reduce Social Inequality for the Elderly Informal Labors in Sa-Kaeo Special Economic Zone. The research employed R&D (Research and Development) as the methodology. The data was synthesized from the 1st and 2nd phase of research projects.  The research found that the widest gaps between social welfare accessibility and need of the informal elderly labors of both before and after mobilizing “Palai Sub-district World Café” was the economics aspect gap which led to others social inequalities such judicial administration and social discrimination and deprived which were relevant to the qualitative data analysis. In addition, there were many activities and organizations participated in the mobilization social welfare management model, “ELDERFARE Model” through an innovative activity called “Palai Sub-district World Café”. Finally, the development trend and direction for “Palai Sub-district World Café” to improve the sustainability of quality of life of the Elderly Informal Labors in Sa-Kaeo Special Economic Zone would be building up the learning innovative center or the school for the elderly under the area’s context and developing the elderly innovators for mobilizing the learning innovative center or the school for elderly under the support and facilitation of the government organizations.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts