รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Styles of Creative Freshman Welcoming Activities Affecting Students’ Participation Intention at Faculty of Management Science, Silpakorn University)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นเกี่ยวรูปแบบและผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 2) ผลกระทบของปัจจัยการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมพี่ระเบียบ และการแข่งขันภายในคณะที่มีต่อความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าร้อยละ จากนั้นทำการวิเคราะห์โมเดลการวัดและวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างก่อนการทำการตรวจสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square: PLS) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก โดยมีประเด็นสำคัญที่ได้จากผลการวิจัย คือ นักศึกษามีความเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์เป็นที่ต้องการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ด้านผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ นักศึกษามีความเห็นว่าผลกระทบด้านบวก อยู่ในระดับมาก กล่าวคือ การจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และผลกระทบด้านลบ อยู่ในระดับปานกลาง กล่าวคือ รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับที่รับได้ไม่จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรมต่อไป เนื่องจากกิจกรรมหลายอย่างก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจ และ 2) ปัจจัยการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของกิจกรรมพี่ระเบียบส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด (ß=0.479, t=7.303 p=0.000) รองลงมา คือ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (ß=0.219, t=3.657, p=0.000) ตามลำดับ นอกจากนี้ ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมยังส่งผลเชิงบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ß=0.871, t=51.536, p=0.000) โมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายผลของความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร้อยละ 75.80 (R2=0.758, R2 adj=0.757) จากผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรในการเพิ่มระดับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา โดยผ่านความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการรับน้องเชิงสร้างสรรค์ในรูปแบบของกิจกรรมพี่ระเบียบ และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
The objectives of this research were to study 1) the opinion on styles and effects of creative freshman welcoming activities of students at Faculty of Management Science, Silpakorn University; and 2) the effects of creative freshman welcoming styles in group dynamics, order activities, and competition within the faculty on satisfaction in activities, and students’ participation intention. The research tool was a questionnaire. The samples were 320 the first year students at Faculty of Management Science by convenience sampling. The statistics used in data analysis were frequency, mean, standard deviation and percentage. Then, the measurement model and structural equation modeling were tested the hypotheses testing by Partial Least Square Structural Equation Modeling (PLS-SEM) with SmartPLS software.
The results showed that 1) the level of students’ opinion on styles and effects of creative freshman welcoming activities was a high level. According to the research results, the students stated that the styles of the creative freshman welcoming activities served the purposes and were well-received by the students. Concerning the effects of the creative freshman welcoming activities, they thought that the positive effects were a high level since the activities cultivated love, unity and sense of responsibility for the public while the negative effects were a moderate level as the activity styles were acceptable but needed improvement in the organizing procedures because some negative impacts on both the students’ body and mind. And 2) the most factor had a statistically significant on positive satisfaction toward the order activities and group activities, respectively. In addition, the positive satisfaction in activities had a statistically significant on students’ participation intention at Faculty of Management Science, Silpakorn University. The structural equation model could explain the effect to students’ participation intention at Faculty of Management Science, Silpakorn University at 75.80 percent (R2 = 0.758, R2 adj = 0.757). The results of this research were beneficial to Faculty of Management Science, Silpakorn University to increase students’ participation intention in creative freshman welcoming activities through the satisfaction in activities by creative freshman welcoming styles in order activities and group activities.