ผลของการใช้รูปแบบการสอนวิชาทางการโฆษณาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (The effects of giving advertising instructions to enhance creative thinking and self-esteem of students in higher education)

Main Article Content

วีรพงษ์ พวงเล็ก (Weerapong Pounglek)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบสุ่มกลุ่มทั่วไป มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเองในรูปแบบการเรียนการสอน 3 กลุ่ม (2) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาเพศชายและเพศหญิง (3) ศึกษาผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนกับเพศที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการโฆษณา โดยทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีจำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ (1) รูปแบบการเรียนการสอนทางการโฆษณา (2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ และ (3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ โดยวัดหลังจากกลุ่มตัวอย่างได้ผ่านการเรียนการสอนในรายวิชาทางการโฆษณามาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปีการศึกษา หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิชาทางการโฆษณาที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่เรียนกับอาจารย์พิเศษจากบริษัทตัวแทนโฆษณาเพียงอย่างเดียว มีค่าเฉลี่ยของความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด และนักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์พิเศษจากบริษัทตัวแทนโฆษณาและอาจารย์ประจำมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าเพศของนักศึกษามีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยพบว่าเพศชายมีความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าเพศหญิง แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนกับเพศของนักศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และการเห็นคุณค่าในตนเอง


 


             This experimental research used the generalized randomized block design. It aimed to compare creative thinking and self-esteem among three groups of instructional models, compare creative thinking and self-esteem between male and female, and study interaction effects between instructions and gender on creative thinking and self-esteem. The samples were third year students of advertising major who were randomized to three experimental groups. Each group had 30 students who were assigned to each group by using simple random sampling. Three research instruments which were different advertising instructions, the Torrance Tests of Creative Thinking (TTCT), and the Coopersmith Self-Esteem Inventory (CSEI) were used with the samples after they had passed the advertising course not less than one academic year. After that Two-way analysis of variance had been used to analyze all data. The results were found that the different instructions had an effect on creative thinking and self-esteem. The average score of creative thinking of the students instructed by the guest lecturer from an advertising agency was the highest, whereas the average score of self-esteem of the students instructed by the guest lecturer from the advertising agency and the faculty lecturer was the highest. Gender also had an impact on creative thinking and self-esteem. The male’s creative thinking and self-esteem scores were higher than the females’. However, there was no interaction effect between the advertising instructions and gender on creative thinking and self-esteem.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

วีรพงษ์ พวงเล็ก (Weerapong Pounglek), ภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Thailand Citation Index Centre