การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แนวคิดการสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง (The Development of the Instructional Model to Enhance Mathematics Problem Solving Ability of Mathayomsuksa 6 Students Based on Constructivism)

Main Article Content

นันท์วิภา พิมพร (Nunvipa Pimporn)
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล (Mathasit Tanyarattanasrisakul)
วุฒินันท์ ไอยราพัฒนา (Wuttinan Aiyarapattana)
กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล (Kanitha Chaowatthanakun)

Abstract

               การวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้อง 6 จำนวน 36 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน และค่าขนาดอิทธิพล


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า KITDE Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ
    1) ความสำคัญของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
    มี 5 ขั้นตอนคือ 4.1) ขั้นค้นหาข้อมูลในโจทย์ 4.2) ขั้นระบุความรู้ที่เกี่ยวข้อง 4.3) ขั้นแปลงข้อมูลจากโจทย์
    เป็นสัญลักษณ์ 4.4) ขั้นดำเนินการแก้ปัญหาและ 4.5) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล 5) ปัจจัยที่สนับสนุน
    และ 6) การวัดและประเมินผลมีค่าประสิทธิภาพเชิงเหตุผลเท่ากับ 1.00

  2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ
    ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า

                2.1   ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
มีค่าขนาดอิทธิพลในระดับมาก


              2.2   ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัด
การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 


               The objective of this research and development were to 1) construct and develop the instructional model to enhance mathematics problem solving ability of Mathayomsuksa
6 students and 2) testing of empirical efficiency of the instructional model to enhance mathematics problem solving ability of Mathayomsuksa 6 students by 2.1) compare the mathematics problem solving ability application on “Fundamental of Data Analysis (FDA.)” of Mathayomsuksa 6 students before and after learning by the instructional model to enhance mathematics problem solving ability and 2.2) study the satisfaction of Mathayomsuksa 6 students after learned by instructional model to enhance mathematics problem solving ability. The research samples were 36 students in Mathayomsuksa 6 (class 6) at the second semester of academic year 2018 of Rachineeburana School, Nakhon Pathom by cluster random sampling. The research design were qualitative research and pre-experimental design with one-group pretest-posttest design. Theresearch instruments comprising of; 1) interview form 2) document analysis form 3) instructionalmodel to enhance mathematics problem solving ability 4) lesson plan 5) mathematics problem solving ability test and 6) a set of questionnaire on satisfaction. Data analysis applied were arithmetic mean, standard deviation, and t-test for dependent with effect size by Cohen’s d.


               The result of this research showed that;


  1. The instructional model to enhance mathematics problem solving ability entitle;KITDE Model including of 6 important component, 1) important 2) principal 3) objective 4) processfollowed by 4.1) know 4.2) identify 4.3) transform 4.4) do and 4.5) evaluate 5) support factor of
    this model and 6) measurement and evaluation. KITDE Model have 1.00 for content validity ratio.

  2. The empirical efficiency testing of KITDE Model founded,

                    2.1   mathematics problem solving ability application on FDA.” of Mathayomsuksa 6 students after learning by KITDE Model higher than before at .05 statistical significant levels and the large effect size.


                    2.2   satisfaction of Mathayomsuksa 6 students after learned by KITDE Model was
a high level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts