ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร (Destination Image For Tourism: Na Ngoi Village, Tao Ngoi Sub-District, Sakon Nakhon)

Main Article Content

พิมพ์อมร นิยมค้า (Pim-Amorn Niyomkar)

Abstract

              วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อค้นหาภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนครในมุมมองของคนในพื้นที่ ให้มีความชัดเจนอันจะนำไปสู่การส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของจังหวัดสกลนคร ขอบเขตในการศึกษาคือชุมชนบ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกคัดเลือกแบบเจาะจงและกำหนดเป็นโควตา จำนวน 30 คน จากผู้เกี่ยวข้องหลักได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านในตำบลนางอย ตัวแทนจากองค์กรท้องถิ่น/ภาครัฐและตัวแทนจากโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือแบบสัมภาษณ์เพื่อหาความสำคัญของพื้นที่และดำเนินวิธีการค้นหาภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวของบ้านนางอย


               ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึกมีการกำหนดคำตอบที่ตรงกันในเรื่องของภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวบ้านนางอยคือโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) ภาพลักษณ์ด้านวิถีชีวิต คือการทำการเกษตรและศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตของคนในชุมชน ภาพลักษณ์ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ คือประเพณีไหลเรือไฟบกเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ภาพลักษณ์ด้านสินค้าท้องถิ่นคือข้าวกล้องงอก สบู่มะเขือเทศ และไม้กวาด เป็นต้น ปัจจัยหลักที่ทำให้นักท่องเที่ยวมายังชุมชนนางอย คือการมาขอสิ่งศักดิ์สิทธ์ (การขอหวยกับ พญาเต่างอย) ด้านกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของชุมชนบ้านนางอยควรมีการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวให้ชัดเจน หาจุดยืน จุดเด่นของตนเอง และสร้างการรับรู้ร่วมกันโดยการนำจุดเด่นของตนมาเป็นจุดขายและจัดงานประเพณีที่สำคัญของหมู่บ้านอย่างสืบเนื่องเพื่อเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวรับรู้และจดจำ ด้านแนวทางการ  พัฒนาการท่องเที่ยวของชุนชนบ้านนางอย  ควรนำเสนอความเป็นตัวตนของคนในชุมชน วิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้าที่มีความเรียบง่าย สงบ เป็นเสน่ห์ของชุมชน โดยนำเสนอสินค้าที่สะท้อนแนวคิดของสังคมของชุมชนบ้านนางอย เพื่อเสนอให้นักท่องเที่ยวเห็นถึงลักษณะเด่นของชุมชนได้อย่างชัดเจนและสร้างความสนใจให้เกิดแรงกระตุ้นในการเดินทางท่องเที่ยวมายังอำเภอเต่างอยเพิ่มมากขึ้น


 


              The study was conducted to discover destination images for tourism: Na Ngoi Village, Tao Ngoi, Sakon Nakhon. Also, the researcher aimed to investigate ways or methods promoting the tourism images of the community. With these objectives, the clearer tourism images could be determined, so this could help promote tourism marketing in Sakon Nakhon. In so doing, the researcher selected villagers in Na Ngoi Community to be the research population, and adopted the random sampling method to purposively choose the 30 samples of whom. Those samples included the village heads, the villagers, the older people, the village scholars, the representatives of the local and official organizations, and the representatives of the Third Royal Factory (Tao Ngoi) Sakon Nakhon. In data collection, the researcher adopted the two qualitative tools that were (1) the interview form and (2) the focus group discussion.


               After the analysis, the results showed some points concerning the community tourism images and its identities. For the former, the community representatives similarly thought that the tourism image of the community was the Third Royal Factory (Tao Ngoi) Sakon Nakhon. For the image of Baan Na-Ngoi Community, they said in the same way that it was art and cultural and traditional activities reflecting the villagers’ livelihood, such as  Lai-Rue-Fai ceremony that presented the way they showed respect to the Buddha.


               Additionally, the findings indicated some issues concerning the tourism image promotion and public relations. The main points of the tourism products should be clearly determined, and the mutual awareness of which should be created. In addition, the results revealed there was a slogan for creating the mutual awareness that stated, “The Royal Initiative Projects are very precious. The memorials are very beautiful. As regards the public relations, the findings revealed that Lai-Rue-Fai festival was chosen as the first one to be publicized while volunteer activities with was the Third Royal Factory (Tao Ngoi) Sakon Nakhon took the second place. Moreover, the villagers could choose or create any products that reflected concepts of their social community, so the tourists could obviously see or perceive the village’s dominant characteristics. Also, the products could attract more tourists to visit Tao Ngoi.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts