การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางด้านกายภาพประเภทสถาปัตยกรรมกับการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนท่าแร่ จังหวัดสกลนคร (The Physical Development of the Architectural Tourist Attractions and the Tourist Itinerary Linking in Tha Rae community, Sakon Nakhon Province)

Main Article Content

พิมพ์อมร นิยมค้า (Pim-Amorn Niyomkar)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเป็นแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านกายภาพให้คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และไม่ทำลายคุณค่าทางสถาปัตยกรรม นำไปสู่การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนอย่างยั่งยืน ผู้วิจัยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความสำคัญทางวัฒนธรรมของกฎบัตรเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย (Australia ICOMOS Burra Charter 2013) มาใช้ในการประเมินความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวทั้งในแง่ของมรดกทางสถาปัตยกรรมและการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยว


            ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. บ้านท่าแร่เป็นชุมชนเดียวในจังหวัดสกลนครในปัจจุบันที่ยังคงหลงเหลือมรดกทางสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะอาคารบ้านเรือนก่ออิฐหรือคฤหาสน์ จัดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สำคัญของจังหวัดสกลนครในหลายด้าน อาทิ ด้านการศึกษาศิลปกรรม ในด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการท่องเที่ยว ซึ่งควรจัดให้มีการพัฒนาที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการดึงดูดชักจูงให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวภายในชุมชน ควรสร้างบรรยากาศให้บริเวณพื้นที่โดยรอบตัวอาคารมีความเด่นชัดและมีสภาพดั้งเดิม ปรับปรุงพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณรอบตัวบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงมีการจัดพื้นที่ในด้านการบริการแก่นักท่องเที่ยวอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่ สถานที่จอดรถ ร้านค้า ร้านอาหาร สินค้าที่ระลึกและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยการจัดทำและนำใช้แผนที่การท่องเที่ยวชุมชนเชื่อมโยงบ้านโบราณในระยะใกล้ที่สะดวกต่อการเดินเท้า 2. ควรมีการจัดทำป้ายสื่อความหมายของตัวอาคารเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและสื่อให้เห็นถึงความงดงามของอาคารบ้านเรือน สามารถดำเนินการได้โดยการทำผังย่อยของอาคารหลังนั้น ๆ หรือแสดงภาพตัดของตัวบ้านในบริเวณที่มีความสำคัญ ที่ผ่านมามีการจัดทำป้ายข้อมูลโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเทศบาลตำบลท่าแร่ขึ้นมา ปัจจุบันมีความชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว การนำเสนอเฉพาะประวัติความเป็นมาของเจ้าของเดิม ทำให้เห็นข้อมูลรายละเอียดความสำคัญของตัวอาคารได้น้อย 3. ด้านการส่งเสริมการตลาดเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการเยี่ยมชม ควรมีการจัดทำแผ่นพับที่บรรยายถึงประวัติความสำคัญของชุมชนท่าแร่และอาคารแต่ละหลังโดยมีแผนที่และผังอาคารประกอบเป็นการแสดงเส้นทางและสิ่งที่น่าสนใจภายในชุมชนเพื่อให้ผู้สนใจหรือนักท่องเที่ยวสามารถเลือกท่องเที่ยวภายในชุมชนได้ตามความเหมาะสม 4. ด้านการอนุรักษ์โครงสร้างและความมั่นคงของอาคาร จากการศึกษาพบว่า บ้านเรือนหลายหลังโดยเฉพาะในส่วนโครงสร้างพื้นชั้นล่างของอาคารมีรอยร้าวและเกิดการทรุดตัวและโครงสร้างชั้นบนหรือโครงสร้างหลังคา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวอาคารและผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ยังปรากฏร่อยรอยของการหลุดร่อนและแตกร้าวชำรุดของผนังรวมไปถึงภาพปูนปั้นเฉพาะจุดของตัวอาคาร ทั้งนี้ ต้องดำเนินการโดยการศึกษาและได้รับคำแนะนำจากวิศวกรก่อนการดำเนินการปรับปรุง เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดและผลกระทบจากการซ่อมแซมให้น้อยที่สุด


 


                This qualitative research study was conducted to be physical development guidelines of tourist attractions in order to maintain their identity and not destroy their architectural values. This could lead to community-based tourism sustainably. In so doing, the researcher adopted the cultural significance analysis of the Burra Charter, Australia (2013) to evaluate the significance of the tourism attractions in terms of architectural heritages and tourism route creation. The results revealed these following four points. First of all, Tha Rae Community is the only one community where there have still been some architectural heritages in - especially buildings, houses, and old buildings made of bricks. This place is the valuable and important resource of Sakon Nakhon in many ways, such as fine arts education and economy in terms of tourism. Consequently, this community should be appropriately developed for attracting tourists and making surrounding atmospheres to be outstanding and traditional. For some space around the houses or buildings, it should be improved to be educational resources and places for relaxing, and the atmosphere through the way to each building should be decorated to stand out. This means there should not be any disordered or untidy thing along the way and any expansion inside and outside the buildings. Moreover, there should be some areas for serving tourists where should be set nicely and tidily, such as parking spaces, shops, restaurants, gift or souvenir shops, and relaxing places. Also, the tourist map around the community forgone ancient house to the others should be created; a creator should take the tourists’ convenience and safety into consideration. Second, there should be Medias to convey the meaning of the buildings to build visitors’ understanding and present the building’s beauty and importance. This could be done by creating an interesting sub-plan of each building or a cross-section through important areas of each one; this includes using signs. For the information signs, the Local Government Organization or Tha Rae Sub district Municipality has already made them, but the signs were damaged or worn out. Also, they presented only some history of the former owners which showed less information about the building significance. Third, there should use leaflet as a marketing promotion to link the tourism itinerary of the community. When the tourists visit the community, the leaflets are convenient and can present the history of the Tha Rae community, each building, building-plans, and maps of interesting, near places. So, the tourists can choose where to visit following their own interests. The final point found was about the maintenance of the building structures and stability. The findings showed that the structure of many houses both first and second floors cracked and subsided. It could be dangerous for not only each building itself but also the residents. Moreover, the results revealed crack traces of the building walls and stuccos. Therefore, there should be done and maintained by studying this problem and asking for some advice from an engineer to avoid mistakes and effects of the maintenance.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts