แนวทางการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Guidelines on Tourism Management To Develop Creative Economy for Tai Nyaw in Dong Yen Sub-district, Mueang District, Mukdahan province)

Main Article Content

อิศรา ทองทิพย์ (Isra Thongthip)
ศาสตรา เหล่าอรรคะ (Sastra Laoakka)
มนตรี ศรีราชเลา (Montri Srirajlao)

Abstract

             การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประวัติความเป็นมาของการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร  2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 3. นำเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 50 คน ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บข้อมูลภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ  แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัย และนำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ในอดีตภาครัฐได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยดำเนินการจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม เพื่อเป็นประตูเชื่อมโยงกลุ่มประเทศอินโดจีน โดยมีหนองคาย มุกดาหาร นครพนม เป็นประตูการค้าชายแดนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำหนดแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน และเมืองชายแดน พัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพิ่มขีด ความสามารถของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว ส่วนการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มไทญ้อในตำบลดงเย็น อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารในปัจจุบันนั้นทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหารได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวและจัดการพัฒนาในทุกพื้นที่ ในทุกชนเผ่า โดยสนับสนุนงานเทศกาลต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้เข้ามามี ส่วนร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มไทญ้อของตน 2) ปัจจุบันการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อในตำบลดงเย็นนั้นทางเทศบาลตำบลดงเย็นมุ่งเน้นการรื้อฟื้น อนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มไทญ้อ ใช้งานคูณลานสู่ขวัญข้าวชาวเผ่าย้อ – ภูไท ลาวอีสาน เป็นสื่อกลางด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของตน สำหรับสภาพปัญหาในปัจจุบันที่พบนั้นเกิดจากการได้รับงบประมาณสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวที่ไม่เพียงพอ การเดินทางท่องเที่ยวภายในตำบลดงเย็นไม่ค่อยสะดวก ไม่มีป้ายบอกทางที่ชัดเจนขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานเทศกาล ประเพณี และสถานที่ท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  3) เทศบาลตำบลดงเย็นควรเร่งจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม  สำหรับแนวทางการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น ในพื้นที่วิจัยมีต้นทุน ด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถนำมาใช้จัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนไทญ้อ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ใน 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ รูปแบบการท่องเที่ยวตามแหล่งวัฒนธรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษ


 


               This research was a qualitative research. The study aimed: 1) to study the history of promotion tourism in the Tai Nyaw community, Dong Yen Sub-district, Mueang District, Mukdahan province, 2) to study the current state and problems of the community-based tourism management of Tai Nyaw in Dong Yen Sub-district, Mueang District, Mukdahan province, 3) to propose the guidelines for the community-based tourism management of   Tai Nyaw in Dong Yen Sub-district, Mueang District, Mukdahan province for the development of creative economy by selecting 50 samples using a purposive sampling. The researcher collected data in the fieldwork. The research instruments used in the study included an observation form, a non-participant, an interview and a group discussion in accordance with the principle of community participation. The data was analyzed according to the purpose of the research and presented the research findings using the descriptive analysis method.


               The research found that: 1) In the past, the government sector had created  a National Economic and Social Development plan for the development and promotion of tourism in the Northeast by conducting a conservation plan and restoring natural resources for tourism, history and arts and culture to become the gateway and connect the Indochina countries including Nong Khai, Mukdahan, and Nakhon Phanom as the border trade gateway of the Northeast. The government had established a border economic zone development plan, border cities, and transportation system development in order to increase   the capabilities of tourism personnel. This was to support the development of trading, investment and tourism. The tourism promotion of the Tai Nyaw group in Dong Yen   Sub-district, Mueang District, Mukdahan province, at present the Tourism and Sports Office in Mukdahan province had promoted tourism and managed the development in all areas for every tribe by supporting various festivals and giving opportunities for people in  the community to participate in promoting tourism in their own groups. 2) At present, the community-based tourism management of Tai Nyaw in Dong Yen Sub-district was Dong Yen Sub-district Municipality office focused on reviving, conserving and restoring               the arts and culture and tradition of the Tai Nyaw cluster by setting Boon Koon Lan traditional rite of Nyaw-Phu Tai Lao-Isan as a medium festival to inherite their culture and traditions. The current state and problems found that the cause of insufficient budget to support tourism management, inconvenient of traveling within Dong Yen Sub-district, unclear signs, lack of advertising, public relations of festivals, traditions and tourist attractions going on continuously. 3) Dong Yen Sub-district Municipality office must take action their management urgently to solve the problems occurred that would result in a concrete success. According to the guidelines for the community-based tourism management of Tai Nyaw for the development of creative economy, in the research areas consisted of  the capital of natural resources, culture, and unique traditions. Those resources could be used for the community-based tourism management of Tai Nyaw in order to develop creative economy in 3 different aspects: 1) tourism based on natural resources, 2) tourism in the cultural sites, and 3) tourism based on special interests.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

อิศรา ทองทิพย์ (Isra Thongthip), คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Isra  Thongthip

Major Cultural Science   Faculty of Cultural Science   Mahasarakham University