กำเนิดสัจนิยมมหัศจรรย์ในทัศนศิลป์ที่ประเทศเยอรมนีและพัฒนาการที่ประเทศอิตาลี (The Birth of Magic Realism in Visual Arts of Germany and Its Development in Italy)

Main Article Content

นัทธมน เปรมสำราญ (Nuttamon Pramsumran)

Abstract

                ฟรันซ์ โรห์ (Franz Roh) นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวเยอรมันบัญญัติศัพท์ “สัจนิยมมหัศจรรย์” (Magischer Realismus) ในปี ค.ศ. 1925 เพื่ออธิบายรูปแบบการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมในประเทศเยอรมนีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1  ที่ต่อต้านกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (Expressionism) หันมานำเสนอภาพความจริงอย่างสงบนิ่งแต่แฝงไว้ด้วยความมหัศจรรย์ ศิลปินแต่ละคนใช้รูปแบบการสร้างสรรค์นี้เพื่อสื่อสารเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้มุ่งศึกษาต้นกำเนิดของสัจนิยมมหัศจรรย์ในประเทศเยอรมนีและพัฒนาการของสัจนิยมมหัศจรรย์ที่อิตาลี พบว่ารูปแบบจิตรกรรมเช่นนี้ในประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลีล้วนเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองและจากการศึกษาตัวอย่างภาพวาดที่โดดเด่นในช่วงปี 1920-1930 ช่วงเวลาที่สัจนิยมมหัศจรรย์ได้รับความนิยมในประเทศเยอรมนีและอิตาลีพบว่าภาพวาดจากศิลปินจากทั้งสองประเทศมีชุดลักษณะทางการแสดงออกในแนวทางสัจนิยมมหัศจรรย์เช่นเดียวกัน โดยเป็นไปตามเกณฑ์ที่ฟรันซ์ โรห์ (Franz Roh) ในปี ค.ศ. 1925 และปี ค.ศ. 1968 วีลันด์ ชมิต (Wieland Schmied) และซีมัว เมนตัน (Seymour Menton) เห็นตรงกัน 3 ข้อ คือ 1.เรื่องที่ไม่ใช้อารมณ์ 2.เป็นภาพตัวแทน และ 3. ไม่เห็นกระบวนการวาด


 


                Franz Roh, who was a German art historian, coined the term “magic realism” (Magischer Realismus) in 1925 to describe a new form of painting in Germany after the world war one which was against the expressionism and tried to capture the mystery of life behind the static surface reality. This post-expressionist form was used by artists to tell different stories. This article aims to study the birth of Magic Realism in Germany and its development in Italy. It is found that this form of painting in Germany and Italy were involved with politics. After analyzing the case study of outstanding paintings from two countries which were created in 1920-1930 when Magic Realism was popular among artists, it is found that they have three characteristics of Magic Realism which Franz Roh, in 1925 and 1968, Wieland Schmied and Seymour Menton agree on: 1. Sober 2. Representational and 3. Effacement of the painting process.  

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts