การบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติกของโรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร (The Inclusive Education Management For Students With Austism Of Private Schools In Bangkok)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก 2) เปรียบเทียบการบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ของครู และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก ประชากรที่ใช้ได้แก่โรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู จำนวน 138 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดชั้นภูมิเป็นโรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .962 และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติกโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านผู้บริหาร รองลงมา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากร และด้านสภาพแวดล้อม ส่วนลำดับสุดท้าย ด้านเครือข่าย 2) ครูที่มีประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับเด็กออทิสติกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเรียนรวม ด้านผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์การอบรมตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไปมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเรียนรวมสูงกว่าครูที่ไม่เคยผ่านการอบรม และครูที่มีประสบการณ์การอบรมเกี่ยวกับการเรียนรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเรียนรวมเกี่ยวกับเด็กออทิสติก ด้านผู้บริหารและด้านการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์การอบรม 1-3 ครั้งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเรียนรวม ด้านผู้บริหารสูงกว่าครูที่ไม่เคยผ่านการอบรม และครูที่มีประสบการณ์การอบรมตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเรียนรวม ด้านผู้บริหารและด้านการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าครูที่ไม่เคยผ่านการอบรม และ 3) แนวทางการบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก ประกอบด้วย นโยบายการสร้างสรรค์สภาพสังคมแวดล้อมเชิงบวกและนโยบายการเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้สู่การยกระดับการเรียนรวม การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับด้านผู้บริหาร ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านบุคลากร เป็นองค์ประกอบสำคัญของการบริหารการเรียนรวม อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพผู้เรียนและโรงเรียนต่อไป
This survey research aims to 1) study the level of the Inclusive Education Management for students with autism, 2) compare the Inclusive Education Management for students with autism classified by demography characteristics of teachers and 3) study the guideline on the Inclusive Education Management for students with autism. The population used in this research was 12 private schools in Bangkok. Data distributors were 138 teachers collected through Stratified Random Sampling method specified by schools and 5 school administrators. The tools of this research were 5–points Likert scale questionnaire with reliability of .962 and the interview form. Data was analyzed and processed by statistical package program. Statistical processes used for data analysis were Mean, Standard Deviation, T-test, Analysis of Variance which specified the statistical significance value at .05 and Content Analysis.
The results of this research were found that 1) the overall and individual aspects of the Inclusive Education Management for students with autism were at high level, the first one was administrators followed by teaching and learning management and personnel respectively, 2) teachers who had training experience on students with autism had different opinions on the Inclusive Education Management regarding the administrators with the statistical significance value at .05 in which teachers with at least one time training experience had higher opinions on the Inclusive Education Management than whom with no experience; moreover, teachers who had training experience on the Inclusive Education had different opinions on the Inclusive Education Management for students with autism concerning the aspects of administrators and teaching and learning management with the statistical significance value at .05 in which teachers with one to three times training experience had higher opinions regarding the adminitrators than whom with no experience, and teachers who had training experience four times and more had higher opinions regarding the administrators and teaching and learning management than whom with no experience and 3) the guideline on the Inclusive Education Management for students with autism consisted of the policy on the positive social environment creation and policy on the reinforcement of learning community leading to the Inclusive Education improvement. This research brought about the knowledge on the administrators, the teaching and learning management and the personnel as the key factors of the Inclusive Education Management which would lead to the quality improvement of students and schools in the future.