แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนบ้านลำมะโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร (Guidance For Improving The Inclusive Education Of In Banlammakrok School Cluster Under The Kamphaengphet Primary Educational Service Area Office 1 Kamphaengphet Province.)

Main Article Content

พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์ (Pattanan Wongwitchayut)
บุญล้อม ด้วงวิเศษ (Boonlom Duangwiset)
วรพรรณ ขาวประทุม (Worapan Khaopratoom)
กัลยารัตน์ มาลาศรี (Kanyarat Malasri)

Abstract

                 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านลำมะโกรก 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านลำมะโกรก กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้บริหาร บุคลากรของโรงเรียนบ้านลำมะโกรก และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จำนวน 66  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ  แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านลำมะโกรก ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการบริหารการจัดการเรียนรวม (gif.latex?\bar{x} = 4.27) รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x}= 4.11) ด้านคุณภาพผู้เรียน ( gif.latex?\bar{x}= 4.09) และด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ( gif.latex?\bar{x}= 4.07)ตามลำดับ 2) ผลการหาแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โรงเรียนบ้านลำมะโกรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร สรุปได้ดังนี้ 2.1) ด้านคุณภาพผู้เรียน คือ จัดทำแผนการการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)  เสริมสร้างความรู้ในด้านการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 2.2) ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จัดทำคู่มือหรือแบบฟอร์มที่ชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล จัดสื่อและเทคโนโลยี กำกับ ติดตาม วัดผลและประเมินผลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2.3) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวม คือ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาครู ในด้านการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรวม สร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ใช้วิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  2.4)  ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ ระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อสนับสนุนสื่อเทคโนโลยี และจัดสภาพแวดล้อม อบรมการใช้สื่อและเทคโนโลยีให้กับครูผู้สอน


 


              The purpose of this research were to study the Conditions and Guidance for improving the inclusive education of in banlammakrok school Cluster under the kamphaengphet primary educational service area office 1 kamphaengphet province. Samples were 66 parents of children with special needs, administrators, personnel and experts specializing in the inclusive education by purposive sampling. The instruments were the questionnaires. The statistics methods used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The research findings were: 1) Conditions was overall at a high level (gif.latex?\bar{x} = 4.16). For consideration in each aspect, it was found that the administration was the highest level (gif.latex?\bar{x} = 4.27), followed by instructional skill (gif.latex?\bar{x}= 4.11), quality of the students  ( gif.latex?\bar{x}= 4.09) and while the lowest was in learning society ( gif.latex?\bar{x}= 4.07). 2) Guidance for improving findings were 2.1) quality of the students were conduct the individualized education program (IEP). 2.2) instructional skill were Development of a Learning and teaching children with special needs, screening, manual, Innovation and Educational Technology for teacher. 2.3) administration were activity for development with special needs, buildind awareness of teacher. 2.4) learning society were educational resource finding, Innovation and Educational Technology and environment of inclusive education for teacher.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts