การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอ ชุมชนบ้านปึก-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรีด้วยเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูงเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป (The Identity Creation of Textile Fashion Brands of Ban-Puek – Ang-Sila, Chonburi District via Couture Techniques to be distributed in the Ready-to-Wear Market)

Main Article Content

สัณห์ไชญ์ เอื้อศิลป์ (Sanchai Uaesilapa)
ธีร์ โคตรถา (Dhea Khotradha)

Abstract

                 ชุมชนบ้านปึก-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี มีมรดกทางหัตถกรรมสิ่งทอที่สำคัญ คือผ้าฝ้ายที่มีลักษณะ การทอ และการสืบค้นลวดลายที่แตกต่างจากพื้นถิ่นอื่น แปรรูปเป็นกลุ่มสินค้าแฟชั่น จัดจำหน่ายในศูนย์สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ประจำจังหวัดและงานจัดแสดงสินค้าพื้นถิ่นในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน (2561)  การประกอบธุรกิจดังกล่าวกำลังประสบปัญหาในผลประกอบการที่มียอดจำหน่ายในปริมาณน้อยเนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคไม่นิยมในรูปแบบของสินค้าและกลุ่มของสินค้ายังขาดเอกลักษณ์ไม่เท่าที่ควร งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์อัตลักษณ์ตราสินค้าและการจดจำใหม่ให้แก่กลุ่มสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอชุมชนบ้านปึก เพื่อส่งเสริมการแข่งขันในตลาดการค้าสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป ด้วยการศึกษาขีดความสามารถชุมชนทั้งในด้านการผลิตและการบริหารการจัดการกลุ่มสินค้าแฟชั่น  ประกอบกับหลักการออกแบบตัดเย็บขั้นสูงในด้านองค์ประกอบการออกแบบและเทคนิคการสร้างลักษณะจำเพาะพิเศษ รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่                ด้านการตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป ด้านแนวโน้มการออกแบบสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป และด้านตัวอย่างผลงานออกแบบสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปจากตราสินค้าคู่แข่ง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจพื้นที่การขายโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และการจดบันทึก การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการตลาดสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูป ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคเพื่อตามหากลุ่มเป้าหมายใหม่และลักษณะความพึงพอใจของกลุ่มสินค้าแฟชั่นในงานวิจัย จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้บริโภคหลักที่สนใจการซื้อสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอชุมชนบ้านปึกด้วยเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูง คือกลุ่มสตรีวัยทำงานเพศหญิงที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 36-42 ปี มีบุคลิกภาพและรสนิยมแบบเรียบโก้ มีกำลังการซื้อสินค้าในราคาต่อชิ้นระหว่าง 1,000 – 7,000 บาท ด้านอัตลักษณ์ของระบบการขายสินค้า มีลักษณะสำคัญคือการแบ่งกลุ่มสินค้าพื้นฐาน (Basic Items) และกลุ่มสินค้าแฟชั่น (Fashion Items) ตามโอกาสการใช้งานของสินค้าประเภทลำลอง โดยกลุ่มสินค้าชนิดพื้นฐานจัดอยู่ในประเภทเครื่องแต่งกายทำงานกึ่งลำลอง และกลุ่มสินค้าชนิดแฟชั่นจัดอยู่ในประเภทเครื่องแต่งกายสังสรรค์กึ่งลำลอง ด้านการออกแบบกลุ่มสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอชุมชนบ้านปึก- อ่างศิลา ฯ มีลักษณะสำคัญ คือการสร้างสรรค์รูปแบบให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถผสมผสานรูปแบบการสวมใส่ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพเฉพาะบุคคลได้ โดยองค์ประกอบดังกล่าวเกิดขึ้นจากความสอดคล้องระหว่าง โครงร่างเงา เทคนิคจำเพาะ กลุ่มสี และวัสดุภัณฑ์ ที่มาจากอัตลักษณ์ของผ้าทอพื้นถิ่นร่วมกับเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวัสดุในกระบวนการผลิตก่อนการนำมาสร้างสรรค์เป็นคอลเล็คชั่นของกลุ่มสินค้าแฟชั่นจากหัตถกรรมสิ่งทอ ชุมชนบ้านปึก-อ่างศิลา ที่เหมาะสม และเพื่อให้ได้ผลสรุปของรูปแบบของกลุ่มสินค้าแฟชั่นสำเร็จรูปที่ตรงกับความต้องการกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ผู้วิจัยอาศัยเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ด้วยการตัดสินด้านรูปแบบภาพลักษณ์ของกลุ่มสินค้าอีกครั้งจากคณะผู้เชี่ยวชาญก่อนการนำไปประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมายด้วยการจัดนิทรรศการเป็นขั้นตอนสุดท้าย


 


                  One important textile legacy of the Ban-Puek – Ang-Sila community in Chonburi is the cotton fabrics which are woven in a unique way and have graphic patterns distinctive from other regions. These fabrics are used to make fashion products, which are sold in OTOP stores in the province and exhibited in various exhibitions in Bangkok, Thailand. At present (2018), these products are selling in low volumes because their designs are not popular among consumers and are still lacking in character. This research aims to create an identity and raise awareness for the Ban-Puek community’s textile products, in order to increase their competitiveness in the ready-to-wear market. The manufacturing capacity and management capability were studied as well as couture technique and special techniques. Other factors considered include fashion marketing, fashion design trends, and competitors’ product designs. The researcher conducted qualitative research via market place observation and in-depth interviews with the production and distribution community enterprise, fashion marketing experts, and fashion design experts. Quantitative research was also conducted via consumer surveys to identify a new target market and their preference in the fashion products. The Study shows that consumers who prefer Ban-Puek community’s textile products made with couture techniques are females aged 36-42, who are simple and elegant in style. The affordable price range is 1,000-7,000 baht. The products can be distributed in two groups, Basic Wear and Signature Wear. The basic wear products are business-casual, whereas the signature wear products are party-casual. In terms of design, the important feature of Ban-Puek community’s textile products is their adaptability to consumers’ distinctive personality and characters. This adaptability is achieved through the concordance of silhouette, special techniques, color schemes, and materials, which is a result of couture techniques. Also, different materials are used in the weaving process before the suitable fashion products have created. Lastly, to ensure that the products truly meet the needs of the target market, the researcher conducted EDFR or Ethnographic Delphi Futures research by obtaining judgement from a committee of experts and then exhibiting the products for the target market evaluation.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts