การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/THE DEVELOPMENT OF SELECTIVE COURSE ON LOCAL STUDIES FOR TENTH GRADE STUDENTS

Main Article Content

Tawit Luxsanga

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม การศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เกี่ยวกับผลการเรียนรู้การศึกษาท้องถิ่น ความ สามารถของนักเรียนในการศึกษาท้องถิ่น และความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของนักเรียน โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน เป็นเวลา 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการศึกษาท้องถิ่น แบบบันทึกความภาคภูมิใจในท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่านักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้พัฒนาหลักสูตรที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้ท้องถิ่นที่ผู้เรียนอาศัยอยู่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ คาดหวังให้ผู้เรียนมีกระบวนการในการสร้างองค์ความรู้และเกิดความภาคภูมิในในท้องถิ่น 2) ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหลักสูตรประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน เกี่ยวกับ 2.1) การกำหนดประเด็นการศึกษาท้องถิ่น 2.2) การรวบรวมข้อมูล 2.3) การประเมินข้อมูล 2.4) การวิเคราะห์ข้อมูล 2.5) การสรุปเรียบเรียงและนำเสนอ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 50 คน เป็นเวลา 40 ชั่วโมง โดยจัดการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยการศึกษาท้องถิ่น พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนและปฏิบัติการศึกษาท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียน และคนในท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความรู้ 4) ผลการประเมินและปรับปรุงหลักสูตร พบว่านักเรียนมีผลการเรียนรู้การศึกษาท้องถิ่นก่อนและหลังใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความสามารถในการศึกษาท้องถิ่น และนักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่น โดยนักเรียนเห็นว่าในท้องถิ่นมีแหล่งเรียนรู้ให้ศึกษา และมีคนในท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน นักเรียนมีความรู้สึกว่าท้องถิ่นของนักเรียนน่า

อยู่ คนในท้องถิ่นมีอัธยาศัยดี มีน้ำใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อนักเรียน และนักเรียนต้องการพัฒนาท้องถิ่นของนักเรียนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

 

Abstract

The purpose of this research were 1) to study the basic to the development of selective course on local study for tenth graded students 2) to develop the selective local study curriculum for tenth graded students 3) to implement the local study courses for tenth graded students 4) to evaluate and improve the selective curriculum on local study for tenth graded students involving learning outcomes, students’ competence of studying local study and students’ assertiveness of their local. The research was investigated with   50 tenth graded Rachineeburana School using 40 periods of local study course. The research instruments were the local study course, questionnaires, interview form, issue group, achievement test and competence evaluation form, evaluation form of local study ability, the record form of local assertive. The data was analyzed by percentage, standard deviation, t-test dependent and content analysis

The research results were as follows:

1.  The local study course is crucial for students and involved persons. The local study course is needed to develop focused on local learning resources. Students are anticipated to gain their knowledge construction including students’ pride of their local. 2. The developed curriculum consisted of principle, vision, course description, learning outcomes, learning content, evaluation guidelines and 5 lesson plans which comprised of 1) local issues 2) data collection 3) data evaluation 4) data analysis 5) summarizing and presentation 3. The curriculum was implemented with 50 tenth graded students of Rachineeburana School, Muang District , Nakhonpathom  Province  engaging 40 periods of local study course conducted on the theory and performing learning activities. It is found that students are enthusiastic of studying and performing local study using school learning resources, outside learning resources and local persons.  4.  The results of curriculum evaluation indicated that students’ pretest and posttest achievement scores were statistically significant at the.05 level; the developed curriculum could enable the students to learn local study. It is found that local learning resources are available especially students are gained knowledge by local persons.  Students are pleased with their local.  Local persons have friendship, thoughtfulness and generousness. Students would like to develop their local to be better.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

Tawit Luxsanga

Rachineeburana school