ผลการใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 (The Effect of Using a Set of Picture Books on Phetchabun Sweet Tamarind for Primary Student Grade 1 under the Office of Phetchabun Primary Education Service Area 1)
Main Article Content
Abstract
การวิจัย เรื่อง ผลการใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3 ห้อง รวม 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบ dependent sample
ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือภาพ ชุดมะขามหวานเมืองเพชรบูรณ์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
The objectives of this research were (1) to compare the learning achievements of Prathom Suksa 1 students before and after the learning by the picture books; and (2) to study the satisfaction of the students with learning from the picture books.
The research sample consisted of 35 students in Prathom Suksa 1 of school under the Office of Phetchabun Primary Education Service Area 1 during the first semester of the 2017 academic year, obtained by simple sampling. The employed research instruments comprised (1) the picture books entitled Phetchabun Sweet Tamarind; (2) a learning management plans for learning using the picture books; (3) a learning achievement test; and (4) a questionnaire on students' s satisfaction with learning from the picture books. Statistics of data analysis were mean, standard deviation and t-test.
Research findings showed that (1) the post-learning achievement scores of the students who learned from the picture books were significantly higher than their pre-learning achievement scores at the .05 level; and (2) the students who learned from the picture books were satisfies with their learning from the picture books at the high level.